chat

ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง

“มะเร็งผิวหนัง” คือ เซลล์ผิวหนังที่เติบโตผิดปกติและควบคุมไม่ได้ แม้จะเป็นมะเร็งที่พบได้ไม่มากในประเทศไทยเหมือนมะเร็งชนิดอื่น ๆ แต่กลับมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ปัจจัยเสี่ยงเกิดจากพันธุกรรม การสัมผัสแสงแดดในปริมาณมากหรือเป็นเวลานาน เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อนที่มีแสงแดดแรงแทบตลอดทั้งปี การติดเชื้อไวรัสประเภท HPV (Human Papillomavirus) และการมีแผลเป็นเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน ๆ หากมีการตรวจคัดกรองแล้วพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของโรค จะทำให้แพทย์สามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภพและเพิ่มโอกาสการหายขาดของโรคสูงขึ้น

ราคาการตรวจผิวหนัง

ประเภทของมะเร็งผิวหนัง

การตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง

ข้อสังเกตความผิดปกติบริเวณผิวหนัง

ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง

การป้องกันมะเร็งผิวหนัง

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ “การตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง”

ประเภทของ มะเร็งผิวหนัง

“มะเร็งผิวหนังชนิดสเควมัสเซลล์” (Squamous Cell Carcinoma)

เป็นมะเร็งผิวหนังที่พบได้บ่อย เกิดจากความผิดปกติของเยื่อบุผิวหนัง แม้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต แต่หากปล่อยทิ้งไว้และไม่ได้รับการรักษา เซลล์มะเร็งผิวหนังอาจลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงได้ มีลักษณะเป็นผื่นหรือตุ่มเรื้อรังสีแดง อาจเป็นสะเก็ดหรือเป็นขุย เป็นตุ่มที่แตกเป็นแผล มีเลือดออกง่าย ผื่นหรือตุ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น

“มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา” (Malignant Melanoma)

พบได้น้อยแต่มีความรุนแรงมากกว่ามะเร็งผิวหนังชนิดอื่น เกิดจากความผิดปกติของเซลล์สร้างเม็ดสี เกิดจากการได้รับรังสียูวีจากแสงแดด มีลักษณะเป็นตุ่มหรือก้อนเนื้อ อาจเป็นสีน้ำตาล สีดำ สีแทน เป็นตุ่มที่แตกเป็นแผล มีเลือดออกง่าย ไฝมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือมีรูปร่างเปลี่ยนไป

“มะเร็งผิวหนังชนิดเบเซลเซลล์” (Basal Cell Carcinoma)

เกิดจากความผิดปกติของชั้นเบเซลเซลล์ มักพบบริเวณผิวหนังที่สัมผัสกับแสงแดดเรื้อรัง เป็นมะเร็งชนิดโตช้า โอกาสที่จะแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นมีน้อย การหลีกเลี่ยงสัมผัสแสงแดดสามารถลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดนี้ได้

การตรวจคัดกรองมะเร็วผิวหนัง

ในการตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนังแพทย์ผิวหนังจะซักประวัติว่ามีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็งผิวหนังมาก่อนหรือไม่ และหาความเสี่ยงด้วยการตรวจผิวหนังทุกส่วน เช่น ไฝ ปาน เยื่อบุบริเวณต่าง ๆ อย่างละเอียด เพื่อหารอยโรคบริเวณผิวหนังที่มีลักษณะต้องสงสัย หากพบรอยโรคแพทย์จะตัดชิ้นเนื้อ เพื่อส่งตรวจพิสูจน์ หากผลออกมาพบว่าบริเวณนั้นเป็นมะเร็งผิวหนังหรือมะเร็งไฝ จะพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมร่วมกับแพทย์เฉพาะทางด้านต่าง ๆ เช่น แผนกรังสีรักษา หน่วยเคมีบําบัด หรือแพทย์ศัลยกรรม เพื่อดูแลผิวหนังบริเวณนั้นอย่างเหมาะสม

หากมีความผิดปกติ เช่น มีสีหลากหลาย รูปร่างไม่สมมาตร ขอบเขตไม่คมชัด ผิวหนังเป็นก้อนเนื้อนูนโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีขนาดใหญ่กว่า 6 มิลลิเมตร มีการเปลี่ยนแปลงของขนาด รูปร่าง สี อย่างมีนัยยะสำคัญ อาจมีอาการปวดหรือไม่ปวดก็ได้, ไฝมีการเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง สีมีการเปลี่ยนแปลง เช่น มีสีขาวน้ำตาล ดำ ไม่สม่ำเสมอ, ผื่นเรื้อรังเปลี่ยนแปลงกลายเป็นเนื้อนูนขึ้นมา เป็นแผลหรือไฝที่มีเลือดออกง่าย ผื่นแผลเรื้อรังที่รักษาไม่หาย ไม่ตอบสนองต่อการรักษา หรือมีแผลใหม่เกิดขึ้นบริเวณที่เป็นแผลเป็น หรือบริเวณแผลไฟไหม้มาก่อน ควรมาปรึกษาแพทย์

ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งผิวหนัง

ผู้ที่มีผิวสีอ่อนหรือผิวขาวมาก

ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีแดดจัดเป็นระยะเวลานาน

มีกระ ไฝ ขี้แมลงวันมากผิดปกติ

เคยเป็นมะเร็งผิวหนังมาก่อน หรือมีประวัติสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งผิวหนัง

เคยได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ

เคยทานยากดภูมิคุ้มกัน

ผู้ที่มีประวัติเคยสัมผัสกับสารเคมีบางประเภท เช่น สารหนู (Arsenic)

ไฝที่เป็นอยู่เดิมเกิดความเปลี่ยนแปลง เช่น มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือมีสีเปลี่ยนไป มีอาการคัน แสบร้อน มีเลือดออกบริเวณไฝ

การป้องกันมะเร็งผิวหนัง

หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงแดดแรง ติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน

ไม่ใช้เตียงอาบแดดหรือเตียงอบผิวสีแทน

ทาครีมกันแดด ที่มีประสิทธิภาพป้องกันรังสียูวี มีค่า SPF>50 เพื่อช่วยปกป้องรังสี UVB รวมถึงค่า PA ที่บ่งบอกถึงการป้องกันรังสี UVA ควรจะมีค่าอย่างน้อย ++++ ขึ้นไป ที่สำคัญอย่าป้องกันแดดบริเวณใบหน้าแค่เพียงอย่างเดียว ควรทาบริเวณลำคอ แขน ขา เมื่อต้องสัมผัสแสงแดดเป็นเวลานาน หรืออยู่กลางแจ้ง ควรทาครีมกันแดดซ้ำทุก 2-3 ชั่วโมง

งดสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งผิวหนัง

ราคาการตรวจร่างกายโดยแพทย์ผิวหนัง

ตรวจผิวหนัง

เริ่มต้น 500 บาท

**หมายเหตุ ราคาการตรวจผิวหนังของแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับประเภท อาการ และลักษณะผิวหนังของแต่ละบุคคล

ตัดชิ้นเนื้อ

เริ่มต้น 2,000 บาท

ส่งชิ้นเนื้อเพื่อตรวจพิสูจน์

2,000-3,500 บาท

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ
“การตรวจคัดกรองงโรคมะเร็งผิวหนั

ถาม
ตอบ

ลักษณะตุ่มไฝบนร่างกายแบบไหนที่บ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้?

ให้ใช้หลัก ABCDE ในการสังเกตความผิดปกติของผิวหนังหรือไฝ

ผิดปกติ

A ย่อมาจาก Asymmetry คือ ไม่สมดุล ถ้าไฝหรือรอยโรคมีลักษณะสองฝั่งไม่เท่ากัน ไม่สมมาตรหรือไม่สม่ำเสมอ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งผิวหนัง

ปกติ

B ย่อมาจาก Border ถ้าขอบของรอยโรคไม่เรียบเนียน มีรอยหยักหรือขรุขระย่อมเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังได้

C ย่อมาจาก Color หากสีของรอยโรคเปลี่ยนแปลงไป สีไม่สม่ำเสมอหรือมีหลายสีก็มีความเสี่ยงเช่นกัน

D ย่อมาจาก Diameter คือ เส้นผ่านศูนย์กลาง ไฝหรือรอยโรคที่จะเจริญเติบโตเป็นมะเร็งผิวหนังมักมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 6 มิลลิเมตร บางกรณีอาจมีขนาดเล็กกว่าก็ได้

E ย่อมาจาก Evolving คือ ความเปลี่ยนแปลงทุกด้าน โดยปกติแล้วไฝแม้จะมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่จะมีรูปร่างเหมือนเดิม แต่ถ้าเป็นไฝที่เสี่ยงเป็นมะเร็งอาจเปลี่ยนได้ทั้งขนาด รูปร่าง สี หรืออาจนูนสูงขึ้นจากผิวหนัง

A ย่อมาจาก Asymmetry คือ ไม่สมดุล ถ้าไฝหรือรอยโรคมีลักษณะสองฝั่งไม่เท่ากัน ไม่สมมาตรหรือไม่สม่ำเสมอ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งผิวหนัง

B ย่อมาจาก Border ถ้าขอบของรอยโรคไม่เรียบเนียน มีรอยหยักหรือขรุขระย่อมเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังได้

C ย่อมาจาก Color หากสีของรอยโรคเปลี่ยนแปลงไป สีไม่สม่ำเสมอหรือมีหลายสีก็มีความเสี่ยงเช่นกัน

D ย่อมาจาก Diameter คือ เส้นผ่านศูนย์กลาง ไฝหรือรอยโรคที่จะเจริญเติบโตเป็นมะเร็งผิวหนังมักมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 6 มิลลิเมตร บางกรณีอาจมีขนาดเล็กกว่าก็ได้

E ย่อมาจาก Evolving คือ ความเปลี่ยนแปลงทุกด้าน โดยปกติแล้วไฝแม้จะมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่จะมีรูปร่างเหมือนเดิม แต่ถ้าเป็นไฝที่เสี่ยงเป็นมะเร็งอาจเปลี่ยนได้ทั้งขนาด รูปร่าง สี หรืออาจนูนสูงขึ้นจากผิวหนัง

ถาม
ตอบ

ความถี่ในการตรวจสอบความผิดปกติบริเวณผิวหนังของตัวเองควรเป็นอย่างไร?

ควรสังเกตผิวหนังของตัวเองทุกเดือน เพื่อดูว่ามีลักษณะตุ่มอะไรผิดปกติหรือไม่ และควรตรวจสุขภาพผิวหนังโดยแพทย์อย่างน้อยทุก 3-6 เดือนว่ามีลักษณะเซลล์ที่เป็นตุ่มต้องสงสัยหรือไม่

หัตถการของศูนย์ผิวหนังและเลเซอร์

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม