chat

การคลอดธรรมชาติและคลอดแบบผ่าตัด..ต่างกันอย่างไร

คุณแม่มือใหม่ที่กำลังหาทางเลือกระหว่าง ‘คลอดธรรมชาติ’ กับ ‘ผ่าตัดคลอด’ ย่อมพิจารณาทั้งจากข้อดีและข้อจำกัดของการคลอดทั้งสองรูปแบบ ซึ่งมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ การเลือกวิธีคลอดจะต้องผ่านการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ก่อน โดยเตรียมการตั้งแต่การตั้งครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่ 3 เพื่อพิจารณาเลือกวิธีการคลอดที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับคุณแม่เป็นรายบุคคล

ราคาการคลอดที่โรงพยาบาลยันฮี

ข้อดีของการคลอดธรรมชาติ

ข้อจำกัดของการคลอดธรรมชาติ

ข้อดีของการผ่าตัดคลอด

ข้อจำกัดของการผ่าตัดคลอด

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับการคลอดที่โรงพยาบาลยันฮี

ข้อดีของการคลอดธรรมชาติ

คลอดธรรมชาติและคลอดผ่าตัด

‘คลอดธรรมชาติ’ เป็นวิธีที่ทารกจะผ่านออกมาทางช่องคลอด เหมาะกับคุณแม่ที่ไม่มีความเสี่ยง สุขภาพแข็งแรง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ทารกอยู่ในท่าพร้อมคลอด มีน้ำหนักตัวที่สามารถคลอดเองได้

หลังคลอดจะเจ็บน้อยกว่าการคลอดแบบผ่าตัด เพราะแผลจะอยู่ภายนอกขนาดเล็กกว่าและสมานตัวได้เร็วกว่าแผลผ่าตัดคลอด

ทุกครั้งที่มีการเคลื่อนผ่านของตัวทารกทางช่องคลอด จะมีการรีดน้ำในช่องอกของทารก ทำให้ลดภาวะการหายใจเร็วหรือเหนื่อยหอบหลังคลอดได้

โอกาสที่จะติดเชื้อหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดน้อยกว่า ไม่เกิดพังผืดในช่องท้อง

การคลอดทางช่องคลอดทำให้มีการยืดหย่อนของเส้นเอ็นเกี่ยวพันต่างๆ ในอุ้งเชิงกราน หรือเรียกว่า ‘กระบังลมหย่อน’

ฟื้นตัวเร็วกว่า หลังคลอดคุณแม่จะเจ็บบริเวณแผลคลอดเล็กน้อย

สามารถเคลื่อนไหวร่างกายหรือขยับตัวหลังคลอดได้แทบจะทันที สามารถให้นมลูกได้ทันทีหลังคลอด

ทารกได้รับภูมิคุ้มกันจากเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด

ค่าใช้จ่ายไม่สูงมากเมื่อเทียบกับการผ่าคลอด

ข้อจำกัดของการคลอดธรรมชาติ

คลอดธรรมชาติและคลอดผ่าตัด

ต้องรอเวลาคลอด คุณแม่บางคนอาจมีช่วงเวลาที่เจ็บท้องนานหลายชั่วโมง เนื่องจากมดลูกมีการบีบตัวเป็นระยะๆ ในการคลอดมีทั้งระยะเฉื่อยและระยะเร่ง คุณแม่บางคนเจ็บท้องมาโรงพยาบาลตั้งแต่ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของการเข้าสู่ระยะการคลอด ปากมดลูกเปิดแค่ไม่กี่เซนติเมตร ต้องรอให้ปากมดลูกเปิดมากพอ ขึ้นอยู่กับการหดรัดตัวของมดลูก ความกว้างของเชิงกราน น้ำหนักตัว และขนาดของทารก ว่าสามารถลอดผ่านทางช่องคลอดทางเชิงกรานได้หรือไม่

ไม่สามารถกำหนดวันหรือเวลาคลอดได้

ใช้เวลาคลอดนานกว่าการผ่าตัด

มีโอกาสใช้เครื่องดูดสุญญากาศ หรือคีม หากคุณแม่หมดแรงเบ่ง

หากทารกมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือเชิงกรานคุณแม่แคบอาจทำให้การคลอดติดขัดได้

อาจเกิดภาวะที่นำไปสู่การคลอดธรรมชาติไม่สำเร็จ จนต้องเปลี่ยนเป็นการผ่าตัดคลอดบุตร เช่น หัวใจลูกเต้นผิดปกติ เป็นต้น

ข้อดีของการผ่าตัดคลอด

‘ผ่าตัดคลอด’ (C-Section) ใช้การผ่าตัดทางหน้าท้องแทนการคลอดแบบธรรมชาติ เป็นวิธีที่เหมาะกับคุณแม่ที่ไม่สามารถคลอดได้เองตามธรรมชาติ เพราะมีเชิงกรานแคบ ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ หัวใจทารกเต้นผิดปกติ สายสะดือสั้น สายสะดือย้อย รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด ครรภ์แฝด ครรภ์เป็นพิษ มีภาวะฉุกเฉิน หรือคุณแม่มีปัญหาทางด้านสุขภาพที่ไม่พร้อมต่อการคลอดเองตามธรรมชาติ

สามารถกำหนดวันและเวลาคลอดได้

ใช้ระยะเวลาในการคลอดสั้นกว่าการคลอดธรรมชาติ

ลดการเจ็บปวดท้องขณะคลอด เนื่องจากแพทย์ได้วางยาสลบหรือบล็อกหลัง

ลดการยืดหย่อนของเชิงกราน เนื่องจากไม่ต้องใช้แรงเบ่งเหมือนการคลอดธรรมชาติ

ลดความเสี่ยงเรื่องหัวใจทารกเต้นผิดปกติในช่วงรอคลอดได้ พบได้หลายสาเหตุ เช่น สายสะดือโดนกดทับหลังมีน้ำเดิน ออกซิเจนในเลือดของเด็กต่ำ มักพบในทารกที่มีน้ำหนักเกินหรือมีภาวะรกเสื่อม

ลดความเสี่ยงสายสะดือถูกกดทับระหว่างทำคลอด

คุณแม่สามารถทำหมันได้เลยทันทีหลังคลอดอีกด้วย

ข้อจำกัดของการผ่าตัดคลอด

คลอดธรรมชาติและคลอดผ่าตัด

หลังผ่าตัดคลอดจะต้องดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้แผลอักเสบหรือติดเชื้อได้

คุณแม่จะมีแผลบริเวณหน้าท้องหลังผ่าตัด แต่ในปัจจุบันจะเห็นเป็นแนวบิกินี่ไลน์ ซึ่งต้องมีความกว้างมากพอให้ศีรษะทารกผ่านได้ โดยเฉลี่ยจะอยู่ระหว่าง 10-15 เซนติเมตร

อาจเกิดพังผืดในช่องท้อง

การผ่าคลอดจะเสียเลือดมากกว่าการคลอดธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และความชำนาญของแพทย์ย่อมทำให้เสียเลือดหลังคลอดน้อยลงได้

ทารกเสี่ยงภาวะหายใจเร็ว เพราะการผ่าคลอดจะไม่มีการหดรัดตัวของช่องคลอด ทำให้ไม่สามารถรีดน้ำในช่องอกของทารกได้เหมือนอย่างการคลอดธรรมชาติ ในช่องอกของทารกจะมีน้ำ ทำให้บางรายอาจมีภาวะหายใจเร็วหลังคลอด แต่ไม่ได้เป็นภาวะรุนแรง หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนจะมีโอกาสหายได้เอง

ราคาการคลอดที่โรงพยาบาลยันฮี

คลอดธรรมชาติ (พักฟื้นที่ รพ. 2 คืน)

34,000 บาท

ผ่าตัดคลอด (พักฟื้นที่ รพ. 3 คืน)

46,000 บาท

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับการคลอดที่โรงพยาบาลยันฮี

ถาม
ตอบ

หลังคลอดจะเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไรต่อร่างกายและจิตใจของคุณแม่บ้าง?

‘หน้าท้องหย่อน’ หลังคลอด หน้าท้องคุณแม่อาจยังดูใหญ่คล้ายคนท้อง เนื่องจากผิวหนังและมดลูกขยายออกตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา แต่มดลูกจะหดตัวกลับไปเท่าเดิมภายใน 6-8 สัปดาห์ การให้ลูกดูดนมจะทำให้มดลูกหดตัวเร็วขึ้น ทั้งนี้ การควบคุมอาหารและออกกำลังกายหลังคลอดจะช่วยให้ผิวหนังหน้าท้องที่ยืดขยายกลับมากระชับเข้ารูปได้เร็วขึ้น ส่วนปัญหาผิวหนังขณะตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นฝ้า กระ สิว ผิวหมองคล้ำ จะค่อยๆดีขึ้นหลังคลอด เพราะฮอร์โมนที่เคยเปลี่ยนไปจะกลับมาอยู่ในระดับปกติ ส่วนผิวแตกลาย ต้องทาโลชั่นที่มีมอยเจอร์ไรเซอร์สูง เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นกับผิว

‘ผมร่วง’ เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงหลังคลอด ส่งผลให้ผมร่วงมากขึ้นหลังคลอด โดยเฉพาะช่วง 3-4 เดือนแรก แต่จะดีขึ้นเมื่อฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่กลับมาอยู่ในระดับเดิม ซึ่งผมจะร่วงน้อยลงภายใน 6-12 เดือน

‘ซึมเศร้าหลังคลอด’ เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหลังคลอด ทำให้คุณแม่มีอาการซึมเศร้า หดหู่โดยไม่มีสาเหตุ สิ่งที่ควรทำคือ ไม่เครียดหรือหงุดหงิดกับการเลี้ยงลูก พบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอีกครั้ง

ถาม
ตอบ

หลังคลอดแล้ว มีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไหร่?

การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของคุณแม่ รวมถึงวิธีคลอด หากคลอดแบบธรรมชาติจะใช้เวลาฟื้นตัวประมาณ 4 สัปดาห์ หากผ่าคลอดจะใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ควรอยู่ภายใต้การแนะนำและให้คำปรึกษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัย

แพทย์ผู้เขียนบทความ