chat

ก้อนที่เต้านม – มะเร็งเต้านม

จากข้อมูลเชิงสถิติของกรมการแพทย์ โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า “มะเร็งเต้านม” เป็นภัยร้ายที่คร่าชีวิตผู้หญิงไทยมากที่สุด ด้วยอัตราส่วน 1 ต่อ 10 หรือหมายความว่าในผู้หญิงไทยทั้งหมด 10 คนจะมี 1 คนที่เป็นมะเร็งเต้านม และในทุกๆ 2 ชั่วโมงจะมีผู้หญิงไทยเสียชีวิตด้วยมะเร็งเต้านม 1 คน สาเหตุเกิดได้ทั้งจาก “กรรมพันธุ์” และ “พฤติกรรม” สำหรับกรรมพันธุ์นั้นผู้ที่มีพ่อแม่หรือญาติพี่น้องในครอบครัวเคยป่วยหรือเสียชีวิตด้วยมะเร็งเต้านมมาก่อน ย่อมมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคนี้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ มักพบในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี หรือประจำเดือนหมดช้ากว่าอายุ 55 ปี ขณะที่ในเชิงพฤติกรรมมะเร็งเต้านมมักเกิดกับผู้ที่ทานยาเม็ดคุมกำเนิดมานานติดต่อกันหลายปีและสูบบุหรี่จัด ซึ่งเหตุปัจจัยเหล่านี้มีทั้งปัจจัยที่เราควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่สิ่งที่ผู้หญิงทุกคนสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงให้แก่ตัวเองได้ นั่นคือ การตรวจสุขภาพเต้านมอย่างสม่ำเสมอ และอยู่ภายใต้การให้คำปรึกษาจากแพทย์ผู้ชำนาญการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ราคาการตรวจแมมโมแกรมและการรักษามะเร็งเต้านมที่โรงพยาบาลยันฮี

ทำความรู้จักก้อนบริเวณเต้านม

ตรวจมะเร็งเต้านมขั้นพื้นฐานด้วยตัวเอง

มะเร็งเต้านมคืออะไร?

การตรวจแมมโมแกรม (Mammogram)

วิธีการรักษาโรคมะเร็ง

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ “มะเร็งเต้านม” และการตรวจแมมโมแกรม

ทำความรู้จักก้อนบริเวณเต้านม

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าการเกิดก้อนที่เต้านมทั้งซีสต์และเนื้องอกนั้นสามารถพบได้ในคนปกติทั่วไป ซึ่งทั้งสองอย่างอาจไม่ใช่เนื้อร้ายและไม่สามารถกลายเป็นมะเร็งก็ได้ ก้อนซีสต์ที่เต้านมมีทั้งซีสต์น้ำและซีสต์เนื้อ สาเหตุการเกิดที่แท้จริงยังสรุปไม่ได้แน่นอน อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงต่อมเต้านมในร่างกาย หรือเกิดจากระดับของฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งการรักษาซีสต์หากเป็นก้อนเล็กต้องเฝ้าติดตามความเปลี่ยนแปลง แต่หากมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นต้องรีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้วินิจฉัยต่อว่าเป็นซีสต์น้ำหรือซีสต์เนื้อ หากเป็นซีสต์น้ำจะรักษาด้วยวิธีเจาะแล้วดูดออก แต่หากเป็นซีสต์เนื้อต้องตรวจให้แน่ใจก่อนว่าเป็นแค่ก้อนซีสต์จริงๆ ไม่ใช่เนื้อร้ายจึงจะผ่าตัดออก

ส่วนก้อนที่เต้านมจำพวกเนื้องอก (Fibroadenoma) เป็นก้อนเนื้องอกชนิดธรรมดาที่เกิดจากเซลล์ของท่อน้ำนม มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อที่โตขึ้นเรื่อยๆ หรือไม่ก็ได้ แต่คนไข้จะไม่รู้สึกเจ็บเมื่อมีเนื้องอกเกิดขึ้นบริเวณเต้านม การรักษาส่วนใหญ่แพทย์จะใช้วิธีผ่าตัดเพื่อเอาเนื้องอกออก หากเป็นก้อนขนาดเล็กอาจใช้เพียงยาชาเฉพาะที่ในการผ่าตัดเท่านั้น หากมีขนาดใหญ่มาก แพทย์จำเป็นต้องใช้ยาสลบในการผ่าตัด ทั้งนี้เมื่อผ่าตัดเนื้องอกออกแล้วย่อมมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้อีกร้อยละ 5 ของคนไข้ที่เป็นเนื้องอกเต้านมชนิดธรรมดา

ในเบื้องต้นผู้หญิงทุกคนสามารถตรวจมะเร็งขั้นพื้นฐานด้วยตัวเองได้ เริ่มจากการยืนหน้ากระจก วางแขนไว้ข้างลำตัว สังเกตรูปร่าง ขนาดเต้านม ระดับหัวนม และสีผิวของเต้านมทั้งสองข้าง ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ ดูขนาด รูปร่าง และลักษณะผิดปกติของเต้านม เช่น รอยบุ๋ม รอยนูน แผล หรือการอักเสบ วางมือทั้งสองข้างไว้บนสะโพกและกดน้ำหนักลง หรือเกร็งหน้าอกและดูสิ่งผิดปกติของเต้านม โน้มตัวไปข้างหน้าเพื่อตรวจดูสิ่งผิดปกติของเต้านมทั้ง 2 ข้างได้ชัดเจนมากขึ้น ระหว่างที่อาบน้ำให้ยกแขนขวาขึ้นวางบนศีรษะ ใช้ปลายนิ้วมือด้านซ้าย 3 นิ้ว คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ตรวจเต้านมข้างขวา กดเบา ๆ ก่อนจะกดแรงขึ้น และกดหนักขึ้นเป็น 3 ระดับ ให้ทั่วเต้านมและรักแร้ เพื่อค้นหาก้อนที่อยู่บริเวณใกล้ผิวหนัง และก้อนบริเวณเต้านมพร้อมใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งบีบหัวนมเบา ๆ ดูสิ่งคัดหลั่งว่ามีน้ำเลือด น้ำเหลืองไหลออกมาหรือไม่ ทั้งนี้ผู้หญิงที่อายุระหว่าง 20-40 ปี ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน และพบแพทย์ตรวจทุก 1-3 ปี ส่วนผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรพบแพทย์เพื่อเอกซเรย์เต้านมด้วยแมมโมแกรม และอัลตราซาวนด์ทุกปี

ยืนหน้ากระจกยกแขนสังเกตรูปร่าง
ผิวของเต้านมและสีผิวของเต้านมทั้งสองข้าง

ใช้ปลายนื้วมือ 3 นิ้ว คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และ
นิ้วนางตรวจเต้านม มือซ้ายตรวจเต้าขวา
มือขวาตรวจเต้าซ้าย

ใช้ปลายนิ้วมือ นวดขึ้น และลงให้ทั่วเต้านม

ใช้ปลายนิ้วมือนวดจากหัวนม
กระจายออกทั่วเต้านม

ใช้ปลายนิ้วมือ นวดจากหัวนม
วนเป็นก้นหอยทั่วเต้านม

มะเร็งเต้านมคืออะไร?

สำหรับ “มะเร็งเต้านม” คือโรคที่เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์บุน้ำนม จนกลายเป็นก้อนเนื้อร้ายที่สามารถลุกลามและกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆในร่างกายได้ อาจเป็นมะเร็งเต้านมที่เกิดกับท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนมก็ได้ สังเกตได้ว่าจะมีก้อนที่เต้านม มีการเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างของเต้านม มีรอยบุ๋ม รอยย่น เต้านมหดตัวหรือหนาผิดปกติ มีอาการคันหรือแดง มีเลือดออกหรือของเหลวออกจากหัวนม แม้กระทั่งต่อมน้ำเหลืองบริเวณใต้รักแร้โต

เราสามารถแบ่งอาการของมะเร็งเต้านมได้เป็น 5 ระยะ

ระยะเริ่มต้น ที่เซลล์มะเร็งยังไม่ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อเต้านม

ระยะที่ 1 ก้อนเซลล์มะเร็งจะเริ่มเกิดขึ้นโดยมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร มะเร็งจะยังไม่ได้ลุกลามเข้าไปในต่อมน้ำเหลือง แต่จะเริ่มรุนแรงขึ้น

ระยะที่ 2 ขนาดก้อนมะเร็งใหญ่ประมาณ 2-5 เซนติเมตร มีโอกาสลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ แต่ยังไม่ลุกลามไปยังอวัยวะอื่น

ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นมากประมาณ 5 เซนติเมตร และลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แต่ยังไม่ลามไปสู่อวัยวะอื่น

ระยะสุดท้าย มะเร็งจะลุกลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆในร่างกาย

การตรวจแมมโมแกรม (Mammogram)

นอกจากการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองแล้ว เราสามารถไปพบแพทย์เพื่อตรวจเต้านมอย่างละเอียด ที่เรียกว่า “ตรวจแมมโมแกรม” (Mammogram) โดยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านมที่ถ่ายภาพด้วยรังสีในปริมาณต่ำลงบนฟิล์มซึ่งมีความคมชัดสูงเป็นพิเศษซึ่งให้ผลถูกต้องชัดเจนที่สุด สามารถแสดงลักษณะบ่งชี้ที่เป็นมะเร็งได้ตั้งแต่ยังคลำไม่เจอก้อนมะเร็ง

ในขณะตรวจเต้านมจะถูกบีบเพื่อให้เนื้อเต้านมบางลงโดยแป้นของเครื่องถ่ายภาพ ซึ่งอาจทำให้รู้สึกเจ็บเล็กน้อย และจะถ่ายภาพเต้านมข้างละสองภาพในมุมที่ต่างกันรวมแล้วจะได้ทั้งหมด 4 ภาพ หากพบว่ามีลักษณะผิดปกติก็จะถ่ายภาพเพิ่มเติมอีก หากพบความผิดปกติหลังตรวจ แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อบริเวณนั้นไปตรวจดูลักษณะเซลล์และวินิจฉัยว่าใช่เนื้อร้ายหรือไม่ หากใช่ก็จะวางแผนวิธีรักษาต่อไป ซึ่งการรักษาสามารถทำได้ 3 วิธีคือ การฉายรังสี การใช้เคมีบำบัด และการผ่าตัด

วิธีการรักษาโรคมะเร็ง

การรักษามะเร็งเต้านมด้วยการฉายรังสี

เป็นการรักษาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งโดยฉายรังสี 2 วิธีคือ ฉายรังสีไปยังเนื้อร้ายมะเร็ง และใช้วัตถุที่อาบรังสีวางไว้ตรงเนื้อมะเร็งเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยฉายรังสีสัปดาห์ละ 5 วัน ขึ้นอยู่กับระดับอาการของคนไข้ แต่จะมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังที่ฉายรังสี คนไข้จะรู้สึกเหมือนผิวถูกไหม้ และมีอาการแสบร้อนบริเวณนั้น

การรักษามะเร็งเต้านมด้วยเคมีบำบัด

เป็นการใช้สารเคมีเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งโดยการฉีดหรือรับประทานเป็นเวลา 3-6 เดือน แล้วแต่อาการของคนไข้และชนิดของยา โดยมีผลข้างเคียงคือ คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง ปากเป็นแผล โลหิตจาง ไปจนถึงประจำเดือนไม่มาร่วมด้วย

การรักษามะเร็งเต้านมด้วยการผ่าตัด

เป็นวิธีที่สร้างความวิตกกังวลให้ผู้หญิงทุกคนว่าจะกลับมามีทรวงอก สัญลักษณ์ของความเป็นเพศหญิงได้เหมือนเดิมหรือไม่ ปัจจุบันสามารถทำให้เต้านมทั้งสองข้างมีขนาดเท่ากันได้หลังผ่าตัด โดยก่อนผ่าตัดแพทย์จะวัดระยะจุดกึ่งกลางของเต้านม ฐานเต้านม และขนาดของเต้านมเพื่อวางแผนการผ่าตัดก่อน แล้วจึงผ่าตัดก้อนเนื้อร้ายในเต้านมข้างนั้นออกไป และปรับรูปทรวงอกให้สวยงามดังเดิม ในบางรายที่มีขนาดหน้าอกใหญ่อยู่แล้วอาจเลือกตัดอีกข้างออกด้วยเพื่อปรับให้ทั้งสองข้างมีขนาดเท่ากัน หรือในบางรายอาจเลือกเสริมหน้าอกข้างที่ตัดเนื้อมะเร็งออกให้มีขนาดเท่ากับข้างที่ปกติก็ได้เช่นกัน

การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ หลังการรักษามะเร็งเต้านมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

ใช้เนื้อเยื่อของผู้ป่วยเอง เช่น เนื้อเยื่อจากหน้าท้องหรือหลัง แล้วย้ายมาปลูกถ่ายที่หน้าอกเพื่อสร้างเต้านมใหม่ให้ได้ขนาดและรูปทรงที่ใกล้เคียงด้านตรงกันข้ามมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีการฉีดไขมันในกรณีที่ถูกตัดเต้านมไปบางส่วน โดยเลือกใช้ไขมันจากบริเวณหน้าท้อง เอว หรือต้นขาของผู้ป่วยเอง

เป็นแบบถุงน้ำเกลือหรือถุงซิลิโคนเจล โดยเลือกขนาดให้ใกล้เคียงกับด้านตรงกันข้ามมากที่สุด กรณีใช้ถุงนมเทียมการผ่าตัดจะยุ่งยากน้อยกว่าวิธีแรก ใช้เวลาพักฟื้นน้อยกว่า และกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วกว่า แต่ในบางกรณีอาจต้องใช้ทั้งการย้ายเนื้อเยื่อและใส่ถุงนมเทียมร่วมกัน เพื่อให้ผลลัพธ์ของการรักษาดีที่สุด

อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์เป็นสำคัญ หลังผ่าตัดคนไข้จะมีรอยฟกช้ำที่เต้านมแต่จะหายไปเองภายใน 2 สัปดาห์ ในช่วงแรกที่แผลยังไม่หายอย่าเพิ่งใส่เสื้อชั้นใน ให้รอจนแผลแห้งสนิทก่อนแล้วค่อยใส่เสื้อชั้นในแบบไม่ดันทรงเพื่อประคองทรงเต้านมไว้ เมื่อแผลหายดีแล้วควรนวดคลึงเต้านมเบาๆ เพื่อลดการเกิดพังผืดหลังผ่าตัด

ราคาการตรวจแมมโมแกรมและการรักษามะเร็งเต้านมที่โรงพยาบาลยันฮี

ตัดเต้านมออก 1 ข้าง (พักที่ รพ. 4 คืน)

95,000 บาท

ตัดเต้านม และต่อมน้ำเหลืองออก (พักที่ รพ. 4 คืน)

110,000 บาท

เสริมหน้าอกทรงกลมข้างเดียว (พักที่ รพ. 1 คืน)

81,000 บาท

เสริมหน้าอกทรงหยดน้ำข้างเดียว (พักที่ รพ. 1 คืน)

101,000 บาท

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ “มะเร็งเต้านม” และการตรวจแมมโมแกรม

ถาม
ตอบ

มีข้อจำกัดใดบ้างสำหรับคนที่ต้องรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธีผ่าตัด?

คนที่ใช้ยาสเตียรอยด์, คนที่เป็นโรคเบาหวาน และคนที่เคยผ่าตัดและฉายรังสีบริเวณเต้านมมาก่อน และที่สำคัญเมื่อผ่าตัดไปแล้ว คนไข้จะต้องรักษาด้วยวิธีการฉายรังสีต่อด้วยเพื่อให้เชื้อมะเร็งไม่กลับคืนมาอีก

ถาม
ตอบ

สามารถเสริมเต้านมไปพร้อมกับการตัดเต้านมได้หรือไม่?

สามารถทำได้แต่ต้องเป็นมะเร็งเต้านมในระยะแรก เนื้อเยื่อเต้านมต้องไม่ได้รับความเสียหายจากการฉายแสงหรือมีบาดแผล และมีขนาดเต้านมที่เหมาะสม ข้อดีของการเสริมพร้อมกับการตัดคือ จะผ่าตัดแค่ครั้งเดียว แผลผ่าตัดจะเป็นแผลเดียวกับที่ผ่าตัดมะเร็ง แพทย์สามารถกำหนดบริเวณผิวหนังที่จะผ่าออก สามารถรักษาโครงสร้างสำคัญไว้ได้ เช่น ผิวหนังบริเวณเต้านม, หัวนม, ลานหัวนม ทั้งยังไม่ส่งผลต่อการเกิดซ้ำของมะเร็งเต้านมอีกด้วย

ถาม
ตอบ

กรณีที่ตัดเต้านมมานานแล้ว สามารถเสริมสร้างเต้านมใหม่ได้หรือไม่?

สามารถทำได้ ไม่ว่าจะตัดเต้านมไปนานแค่ไหนก็ตาม สามารถมารับคำปรึกษาจากแพทย์ได้ ส่วนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เพิ่งตัดเต้านมออกไป ควรรักษามะเร็งเต้านม เช่น รังสีรักษา, เคมีบำบัด ให้เรียบร้อยก่อน จึงค่อยมาเสริมเต้านม ซึ่งมักทิ้งระยะเวลาห่างจากตัดเต้านมไปแล้วประมาณ 1-2 ปี

ถาม
ตอบ

ในการสร้างเต้านมใหม่ แพทย์จะทำหัวนมให้ด้วยหรือไม่?

แพทย์จะสร้างเต้านมขึ้นก่อน จากนั้นประมาณ 3-4 เดือน จึงจะสร้างส่วนหัวนมและลานหัวนม สำหรับการทำลานหัวนมจะใช้วิธีสักสีเพื่อให้ได้สีใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด

ถาม
ตอบ

ผู้ชายสามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้หรือไม่?

ไม่ใช่เพียงแค่ผู้หญิงเท่านั้นที่เป็นมะเร็งเต้านม แต่ผู้ชายก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน แม้สถิติของผู้ชายจะมีเพียง 0.5-1 เปอร์เซ็นต์ ต่อผู้ป่วยมะเร็งเต้านมผู้หญิง 100 คน โดยความเสี่ยงเกิดขึ้นทั้งจากพันธุกรรม มีระดับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนสูงกว่าปกติ อาจเกิดจากความผิดปกติของดีเอ็นเอมาแต่กำเนิด โดยเฉพาะอาการไคลน์เฟลเตอร์ และมีอายุเฉลี่ยตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจเอกซเรย์เต้านมปีละ 1 ครั้ง

ถาม
ตอบ

คนที่เสริมหน้าอกมาจะตรวจแมมโมแกรมแตกต่างไปจากคนที่หน้าอกปกติอย่างไร?

คนที่เสริมเต้านมด้วยซิลิโคนควรแจ้งกับแพทย์ก่อน เพื่อตรวจด้วยเทคนิคพิเศษโดยการเอ็กซเรย์ ดึงแยกเนื้อเยื่อออกจากซิลิโคน ควบคู่ไปกับการอัลตราซาวนด์เพื่อตรวจดูความผิดปกติของเนื้อเต้านม ทั้งนี้ ถุงเต้านมซิลิโคนมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นมาก การตรวจแมมโมแกรมไม่สามารถทำให้ถุงซิลิโคนแตกได้

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม