chat

การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก

การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก เพื่อให้ได้รูปร่างที่สวยงามสมส่วน ซึ่งการลดน้ำหนักด้วยวิธีใส่บอลลูนนั้น จะช่วยให้อิ่มเร็วขึ้น รับประทานอาหารได้น้อยลง เนื่องจากพื้นที่ภายในกระเพาะอาหารลดลง นอกจากนี้ ยังมีการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตร่วมด้วย ซึ่งนอกจากน้ำหนักที่ลดลงแล้ว สุขภาพของผู้เข้ารับการใส่บอลลูนก็จะดีขึ้นด้วย

ราคา

การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร (Gastric Balloon) คืออะไร?

ประโยชน์ของการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

ใครบ้างที่เหมาะกับการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

การเตรียมตัวก่อนใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

ขั้นตอนการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

การปฏิบัติตนและการติดตามผลหลังการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

การรับประทานอาหารหลังใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร (Gastric Balloon) คืออะไร ?

การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร เป็นการลดน้ำหนักชนิดหนึ่งที่ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยา โดยการส่องกล้องใส่บอลลูนเข้าไปในกระเพาะอาหารคล้ายกับการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารทั่วไป ภายในบอลลูนจะใส่น้ำเกลือผสมกับสารสีฟ้าที่เรียกว่าเมทิลีนบลู (Methylene Blue) ในปริมาตร 400 ถึง 500 ซีซี เพื่อลดพื้นที่ในกระเพาะอาหาร ทำให้ผู้เข้ารับการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารรู้สึกอิ่มตลอดเวลา และรับประทานอาหารได้ลดลงกว่าเดิม โดยบอลลูนสามารถปรับเพิ่มหรือลดขนาดได้ภายหลัง แต่หากผู้เข้ารับการใส่บอลลูนพอใจกับน้ำหนักที่ลดลงแล้ว ก็สามารถนำบอลลูกออกก่อนครบ 1 ปีได้

ประโยชน์ของการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

  • เป็นการลดน้ำหนักโดยไม่ต้องผ่าตัด จึงไม่เจ็บตัว และไม่มีบาดแผล
  • ไม่ต้องรับประทานยาเพื่อลดน้ำหนัก
  • บอลลูนจะเข้าไปลดพื้นที่ในกระเพาะอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มตลอดเวลาและรับประทานอาหารได้ลดลงกว่าเดิม ส่งผลให้ฮอร์โมนเกี่ยวกับความหิวหลั่งลดลง ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง
  • โดยเฉลี่ยสามารถลดน้ำหนักได้มากกว่า 24 กิโลกรัม ภายในระยะเวลา 1 ปี
  • เป็นวิธีลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัย ได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศ
  • ผู้เข้ารับการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร จะได้รับการดูแลตลอดการรักษาอย่างครบวงจร โดยทีมอายุรแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินอาหาร นักปรับพฤติกรรม และนักโภชนาการ
  • นอกจากน้ำหนักที่ลดลงมาแล้ว ผู้เข้ารับการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารจะมีสุขภาพที่ดีขึ้น เนื่องจากมีการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตร่วมด้วย
  • ภายหลังนำบอลลูนออก ผู้เข้ารับการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร จะเกิดความเคยชินกับพฤติกรรมในขณะใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร จึงสามารถนำพฤติกรรมดังกล่าวไปปฏิบัติหลังจากนำบอลลูนออกจากกระเพาะอาหารแล้วได้ ทำให้เป็นการลดน้ำหนักที่ยั่งยืนและปลอดภัย

ใครบ้างที่เหมาะกับการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

สำหรับผู้ที่เหมาะกับการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร จะคำนวณจากค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) ซึ่งผู้ที่เหมาะสมจะต้องมีค่า BMI 27 ขึ้นไป หรือผู้ที่เป็นโรคอ้วนและผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก โดยวิธีการคำนวณหาค่า BMI มีดังนี้

การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

ใครบ้างที่ไม่เหมาะกับการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

สำหรับผู้ที่ไม่เหมาะกับการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร ได้แก่

  • – สตรีมีครรภ์ ในกรณีที่ใส่บอลลูนแล้วและเกิดการตั้งครรภ์ แพทย์จะนำบอลลูนออกทันที เนื่องจากอาจส่งผลต่อคุณแม่และทารกในครรภ์
  • – ผู้ที่มีความผิดปกติของหลอดอาหารและกระเพาะอาหา เช่น เป็นแผลในกระเพาะ กรดไหลย้อนรุนแรง หรือเคยผ่าตัดรัดกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร เป็นต้น
  • – ผู้ที่มีภาวะเลือดออกง่าย หรือกินยาละลายลิ่มเลือด และผู้ที่มีโรคประจำตัวรุนแรง เช่น โรคหัวใจขาดเลือด เป็นต้น

การเตรียมตัวก่อนใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

correct

ก่อนเข้ารับการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร ผู้เข้ารับการใส่บอลลูนจะต้องมีสภาพร่างกายที่พร้อม โดยแพทย์จะตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) และตรวจเลือดเบื้องต้น (Lab Pre Operation) ส่องกล้องเพื่อดูความพร้อมของหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคประจำตัว ซึ่งต้องอยู่ในเกณฑ์ปกติจึงจะสามารถใส่บอลลูนได้

correct

ผู้เข้ารับการใส่บอลลูนต้องรับประทานยาลดกรด Miracid (Omeprazole) ก่อนอาหารเช้าและเย็น เป็นเวลา 14 วัน

correct

งดสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ของหมักดอง

ขั้นตอนการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

  • เมื่อถึงวันนัดหมาย ผู้เข้ารับการใส่บอลลูนเปลี่ยนชุดของทางโรงพยาบาล, ถอดแว่นตา, คอนแทคเลนส์และฟันปลอม วัดความดันโลหิต ชีพจร และระดับออกซิเจนในเลือด
  • ผู้เข้ารับการใส่บอลลูนจะได้รับการพ่นยาชาที่บริเวณลำคอ หรือกลั้วปากด้วยยาชาจะรู้สึกชาและหนาที่บริเวณลำคอ มีการให้ยานอนหลับเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยคลายกังวลขณะทำหัตถการ
  • แพทย์จะเริ่มทำการส่องกล้องใส่บอลลูน โดยใส่อุปกรณ์ช่วยในการอ้าปาก (Mouthpiece) เพื่อช่วยอ้าปากระหว่างทำการใส่บอลลูน จากนั้นค่อยๆ สอดบอลลูนช้าๆ เข้าไปทางปากลงไปยังหลอดอาหาร จนกระทั่งไปถึงกระเพาะอาหาร เมื่อบอลลูนอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม แพทย์จะทำการใส่น้ำเกลือผสมกับสารสีฟ้าที่เรียกว่า เมทิลีน บลู (Methylene Blue) ในปริมาตร 400 ถึง 500 ซีซี หลังจากบอลลูนได้ถูกเติมน้ำในปริมาตรที่เหมาะสมแล้ว แพทย์จะค่อยๆ ดึงอุปกรณ์ออก ทั้งนี้ การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที

ผลข้างเคียงหลังการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

หลังการรักษา ผู้เข้ารับการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารจะมีอาการปวดท้อง แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วย ซึ่งจะเป็นมากภายในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์แรก ซึ่งจำเป็นต้องรับประทานยาลดกรดและยากันอาเจียนควบคู่กันไปด้วย เพื่อป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ อาจมีผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้แต่น้อยมาก เช่น เลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร อาเจียนมากจนกระทั่งหลอดอาหารหรือกระเพราะอาหารปริ ลำไส้อุดตัน เป็นต้น

การปฏิบัติตนและการติดตามผลหลังการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

  • ผู้เข้ารับการใส่บอลลูนจะได้รับการนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลเป็นเวลา 1 วัน เพื่อดูอาการ หากมีอาการแน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน มากๆ พยาบาลจะให้รับประทานยาลดกรดและยาแก้อาเจียน
  • เมื่ออาการผู้เข้ารับการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารดีขึ้น นักโภชนาการจะจัดตารางการรับประทานอาหาร เพื่อปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยในระยะแรกผู้เข้ารับการใส่บอลลูนจะรับประทานอาหารได้น้อยลง เนื่องจากพื้นที่ของกระเพาะอาหารลดลง ดังนั้น จึงต้องเลือกรับประทานอาหารที่ดูดซึมง่าย เช่น น้ำเปล่า นม น้ำผลไม้ โยเกิร์ต ซุปใส ต้มจืด เป็นต้น
  • นักปรับพฤติกรรม จะคอยสอบถามการเปลี่ยนแปลงหลังการใส่บอลลูน แนะนำการออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตประจำวัน และดูแลคนไข้อย่างใกล้ชิด โดยสามารถปรึกษาได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านช่องทาง Line : @yanheehospital
  • สามารถใช้ชีวิตประจำวันและออกกำลังกายได้ตามปกติ ยกเว้นการออกกำลังกายที่มีการเปลี่ยนแปลงของแรงดันมากๆ เช่น ดำน้ำ ฟุตบอล มวยไทย สามารถเดินทางเครื่องบินได้ตามปกติ เนื่องจากมีการค่อยๆ ปรับแรงดัน จึงไม่ส่งผลกระทบต่อบอลลูนในกระเพาะอาหาร
  • เมื่อผ่านไป 3 เดือน จะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงประมาณร้อยละ 10 จากน้ำหนักเดิม โดยผู้เข้ารับการใส่บอลลูนจะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตใหม่หลังการใส่บอลลูน 9 เดือนขึ้นไป และสามารถทำให้เป็นพฤติกรรมถาวรได้ โดยจะต้องพบแพทย์เดือนละครั้ง เพื่อติดตามผลการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
  • เมื่อครบ 6 เดือน ผู้เข้ารับการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร ต้องกลับมาพบแพทย์เพื่อปรับขนาดบอลลูนให้ได้ขนาดที่เหมาะสม กรณีเกิดอาการผิดปกติขณะใส่บอลลูน เช่น น้ำหนักลดลงเร็วเกินไป อาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ กล้ามเนื้อร่างกายอักเสบได้ เนื่องจากมีการดึงพลังงานจากตับและกล้ามเนื้อหัวใจมาใช้ ดังนั้น การที่น้ำหนักลดลงเร็วเกินไปจึงไม่เป็นผลดี ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ และเมื่อใส่บอลลูนครบ 1 ปีแล้ว แพทย์จะปล่อยน้ำในบอลลูนออกและส่องกล้องเพื่อนำบอลลูนออกจากกระเพาะอาหาร

ดังนั้น การที่น้ำหนักลดลงเร็วเกินไปจึงไม่เป็นผลดี ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ และเมื่อใส่บอลลูนครบ 1 ปีแล้ว แพทย์จะปล่อยน้ำในบอลลูนออกและส่องกล้องเพื่อนำบอลลูนออกจากกระเพาะอาหาร

การรับประทานอาหารหลังใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

อาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้เข้ารับการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารต้องใส่ใจ เพราะการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การควบคุมชนิดและปริมาณอาหารหลังการใส่บอลลูน จะช่วยให้ปรับตัวได้ง่ายขึ้น รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก ทำให้ผู้เข้ารับการใส่บอลลูนประสบกับความสำเร็จดังเป้าหมายที่ได้ตั้งใจไว้ โดยอาหารสำหรับผู้เข้ารับการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร มีดังนี้

อาหารหลังผ่าตัดใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

วันที่ 1 – 7 วันที่ 8 – 14 วันที่ 14 – 21 ตั้งแต่วันที่ 21 เป็นต้นไป
วันแรก จิบน้ำเปล่า ชั่วโมงละ ¼ ของแก้ว รับประทานนม/โยเกิร์ต/น้ำผัก/ผลไม้ปั่น/มันฝรั่งบด รับประทานขนมปัง/ก๋วยเตี๋ยว/ข้าวสวยนิ่มๆ สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ
วันที่ 2 ดื่มน้ำผลไม้ รับประทานซุปใส เริ่มรับประทานปลา/ไก่บด(ไม่ติดหนัง) แต่สามารถรับประทานได้หลังจาก 8 วันไปแล้ว เนื้อสัตว์บดสับละเอียด
วันที่ 3 เป็นต้นไป ให้รับประทานอาหารเหลว เช่น น้ำผลไม้ นม โยเกิร์ต สามารถดื่มชา/กาแฟได้ เริ่มรับประทานไข่ได้หลังจาก 11 วันไปแล้ว ผัก/ผลไม้บดละเอียด(เอาเมล็ดออก)

อาหารหลังผ่าตัดใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารตั้งแต่วันที่ 21 เป็นต้นไป

วัน/มื้ออาหาร มื้อเช้า มื้อกลางวัน มื้อเย็น
วันจันทร์ โจ๊กหมูใส่ไข่ สลัดปลาแซลมอลย่าง ซอสพริกไทยดำ เกาเหลาราดหน้าผักรวมอกไก่
วันอังคาร ซีเรียล+นมขาดมันเนย ข้าวไรซ์เบอร์รี่+แกงส้มมะละกอกุ้ง สลัดผักนัวไข่ต้ม
วันพุธ ข้าวต้มปลา อกไก่ย่าง+ผักเห็ด 3 อย่าง สุกี้น้ำหมู
วันพฤหัสบดี โยเกิร์ตไขมัน 0% ผลไม้รวม ข้าวไรซ์เบอร์รี่+ไข่พะโล้หมูตุ๋น ซีซ่าร์สลัด
วันศุกร์ ข้าวต้มไรซ์เบอร์รี่+ผัดเต้าหู้ทรงเครื่อง สปาเก็ตตี้ทะเลผัดแห้ง ลุยสวนไก่สับ
วันเสาร์ แซนวิชโฮลวิตไส้ทูน่า+กาแฟดำ ข้าวไรซ์เบอร์รี่+แกงจืดสาหร่ายหมูสับ (ต้มเลือดหมู) แรตแทตทุย
วันอาทิตย์ กราโนล่าข้าวโอ๊ตน้ำผึ้ง ไก่ม้วนไส้แครอทแตงกวาหน่อไม้ฝรั่งราดน้ำสลัดงา สลัดอโวคาโด้กุ้ง

ข้อแนะนำเพิ่มเติม

  • ไม่ควรรับประทานครั้งละมากๆ
  • เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
  • ไม่ควรรับประทานอาหารที่ร้อนหรือเย็นเกินไป
  • ขณะรับประทานอาหารไม่ควรทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น การดูโทรทัศน์
  • ห้ามดื่มน้ำอัดลม
  • ดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 10 แก้ว
  • ควรสังเกตอาการผิดปกติ หากปวดท้องหรือมีอาการผิดปกติให้หยุดรับประทานอาหารนั้นทันที
  • รับประทานอาหารครบ 3 มื้อ ให้ตรงเวลา ห้ามอดอาหารหรือรอจนกระทั่งหิวแล้วค่อยรับประทาน

การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักนั้นเป็นวิธีที่มีมานาน และได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ เมื่อใส่บอลลูนครบ 1 ปีแล้ว ผู้เข้ารับการใส่บอลลูนจะสังเกตได้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น น้ำหนักตัวลดลง รูปร่างดีขึ้น รวมทั้งมีสุขภาพที่ดีขึ้น การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่เป็นโรคอ้วนหรือคนที่ต้องการลดน้ำหนัก ทั้งนี้ ควรทำโรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารและทีมงานที่เชี่ยวชาญนะคะ

ราคา

การใส่บอลลูนกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Gastric Balloon) ชนิด 6 เดือน

พัก 2 คืน

120,000 บาท

การใส่บอลลูนกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Gastric Balloon) ชนิด 1 ปี

พัก 1 คืน

180,000 บาท

การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร