chat

การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น

การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น

การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น

(หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น)

การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น (Esophagogastroduodenoscopy: EGD หรือ Upper Endoscopy) เป็นการใช้กล้องที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก มีความยืดหยุ่น โค้งงอได้ มีกล้องและดวงไฟขนาดเล็กมากติดอยู่ที่ปลายท่อ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 100-120 เซนติเมตร ใส่ผ่านทางปาก เพื่อตรวจดูพยาธิสภาพตั้งแต่ช่องปาก โคนลิ้น หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น โดยก่อนส่องกล้องแพทย์จะพ่นยาชาที่บริเวณลำคอ และในบางรายอาจมีการใช้ยาให้ผู้ป่วยคลายกังวล

การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น เป็นวิธีการตรวจที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ แพทย์สามารถมองเห็นพยาธิสภาพของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นได้อย่างชัดเจน เป็นทั้งการตรวจวินิจฉัยและการรักษาในคราวเดียวกัน สามารถใช้ตรวจสภาพความผิดปกติของอวัยวะดังกล่าว เก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อ และตัดเนื้องอกบางชนิดได้โดยไม่ต้องผ่าตัดเข้าทางช่องท้อง ซึ่งหากพบความผิดปกติ แพทย์จะสามารถนำชิ้นเนื้อเล็กๆ มาตรวจได้โดยที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บ เป็นการรักษาโดยการใส่อุปกรณ์ผ่านกล้อง เช่น ใส่เครื่องมือขยายหลอดอาหาร ใส่เครื่องมือขยายกระเพาะอาหาร การห้ามเลือด การตัดติ่งเนื้อในกระเพาะอาหาร เป็นต้น โดยอาการหรือความผิดปกติที่ตรวจพบได้จากการส่องกล้อง ได้แก่ กลืนลำบาก ปวดท้อง เลือดออกในทางเดินอาหาร  โรคแผลในกระเพาะอาหาร  และ เนื้องอก

อาการและข้อบ่งชี้ที่ควรได้รับการตรวจส่องกล้อง

  • กลืนอาหารลำบาก กลืนติด หรือกลืนเจ็บ
  • จุกแน่น ปวดท้อง บริเวณลิ้นปี่ รับประทานยารักษาโรคกระเพาะแล้วไม่ดีขึ้น
  • อาเจียนต่อเนื่องหลังรับประทานอาหาร
  • อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ
  • น้ำหนักตัวลดลงไม่ทราบสาเหตุ
  • โลหิตจางไม่ทราบสาเหตุ ในผู้ป่วยที่มีประวัติรับประทานยาแก้ปวด

 การเตรียมตัวเข้ารับการส่องกล้อง

ก่อนเข้ารับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องมีสภาพร่างกายที่พร้อม กล่าวคือ ตรวจวัดสัญญาณชีพ (ความดันโลหิต, อัตราการเต้นของหัวใจ, ชีพจร และอัตราการหายใจ) อยู่ในเกณฑ์ปกติ  และต้องได้รับคำอธิบายจากแพทย์ถึงสภาพอาการและข้อบ่งชี้ในการตรวจก่อนทำการตรวจ ซึ่งผู้ป่วยจะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนตรวจเกี่ยวกับโรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา สารเคมี หรืออาหาร ยาที่รับประทานเป็นประจำ และประวัติการผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดในช่องท้อง

ผู้เข้ารับการตรวจต้องงดน้ำ งดอาหารหลังเที่ยงคืน หรืออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้กระเพาะอาหารว่าง ทำให้แพทย์มองเห็นหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นได้ชัดเจน และเป็นการป้องกันการสำลักเศษอาหารเข้าปอด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดปอดอักเสบได้

สำหรับยาที่ต้องงดก่อนมารับการส่องกล้อง ได้แก่ ยาเคลือบกระเพาะอาหาร หรือยาน้ำสีขาว (Alum Milk) ก่อนตรวจ 1 วัน เพราะอาจทำให้แพทย์มองไม่เห็นทางเดินอาหารส่วนต้นขณะส่องกล้อง งดยาต้านเกล็ดเลือดและยาละลายลิ่มเลือด (Aspirin, Persantin, Ticlid, Plavix, Warfarin, Orfarin, Heparin, Fraxiparine) ก่อนตรวจ 7 วัน กรณีผู้ป่วย เบาหวาน ให้งดกินยาและฉีดยาเบาหวานในวันที่มาตรวจ แต่ให้นำยารักษาโรคประจำตัวมาด้วย

กรณีผู้ป่วยโรค ความดันโลหิตสูง  ในวันตรวจอาจมีความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น แพทย์จะให้รับประทานยาลดความดันโลหิตในเวลา 6 โมงเช้าในวันที่มาตรวจ และดื่มน้ำตามเล็กน้อยประมาณครึ่งแก้ว เพื่อให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ขั้นตอนการส่องกล้อง

เมื่อถึงวันตรวจ ผู้ป่วยจะได้รับเสื้อที่ทางโรงพยาบาลจัดให้ โดยให้สวมทับเสื้อที่ท่านสวมอยู่, ถอดแว่นตา, คอนแทคเลนส์ และฟันปลอม จากนั้นแพทย์จะตรวจวัดความดันโลหิต ชีพจร และระดับออกซิเจนในเลือด เมื่อตรวจเสร็จแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับการพ่นยาชาที่บริเวณลำคอ โดยอาจพ่นประมาณ 2-3 ครั้ง หรือกลั้วปากด้วยยาชา ท่านจะรู้สึกชาและหนาที่บริเวณลำคอ อาจมีการให้ยานอนหลับเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยคลายกังวลขณะทำหัตถการ ซึ่งแพทย์จะแจ้งให้ทราบก่อนส่องกล้อง

แพทย์จะเริ่มทำการส่องกล้อง โดยการใส่อุปกรณ์ช่วยในการอ้าปาก (Mouthpiece) เพื่อช่วยอ้าปากของผู้ป่วยระหว่างทำการส่องกล้อง จากนั้นค่อยๆ สอดกล้องช้าๆ เข้าไปทางปาก ผ่านโคนลิ้น ลงไปยังหลอดอาหาร จนกระทั่งไปถึงกระเพาะอาหาร ในขณะเดียวกันแพทย์จะทำการเป่าลมเข้าไปด้วยเพื่อให้มองเห็นพยาธิสภาพภายในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หากพบสิ่งความผิดปกติอาจจำเป็นต้องทำการตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์

หากผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการกลืนและทำตามแพทย์สั่งจะไม่รู้สึกเจ็บ ทั้งนี้ การส่องกล้องจะไม่รบกวนการหายใจ ผู้ป่วยสามารถหายใจได้ตามปกติในระหว่างการส่องกล้อง โดยการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้นจะใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้นเป็นวิธีการที่มีความปลอดภัยสูง โดยมีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก เช่น หลังทำอาจมีอาการเจ็บคอ ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือปวดท้อง โดยอาการเหล่านี้จะหายไปเองภายใน 24 ชั่วโมง หรือน้อยกว่านั้น ในกรณีที่มีการตัดหรือทำหัตถการผ่านกล้อง อาจมีการเจาะทะลุผนังลำไส้ได้ ซึ่งต้องรักษาด้วยการให้เลือด แต่เป็นปัญหาที่พบได้ไม่บ่อย หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีอาการปวดมากบริเวณลำคอ หน้าอก ท้อง หายใจลำบาก มีไข้สูง ควรรีบมาพบแพทย์

ข้อปฏิบัติภายหลังการส่องกล้อง

หลังส่องกล้องผู้ป่วยควรสังเกตอาการผิดปกติประมาณ ½ – 1 ชั่วโมง ไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารจนกว่าคอจะหายชา ให้ทดสอบโดยกลืนน้ำลาย หากยังรู้สึกติดคอแสดงว่ายังดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารไม่ได้ และเมื่อหายชาแล้วให้ทดลองจิบน้ำ ถ้าไม่สำลักจึงดื่มได้

หลังส่องกล้องอาจมีอาการเจ็บคอ ควรหลีกเลี่ยงดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารร้อน รสจัด เพราะอาจทำให้ระคายเคืองได้ ควรรับประทานอาหารเหลวหรืออ่อน รสไม่จัด ประมาณ 1-2 วัน ในระหว่างนี้ ควรสังเกตน้ำลายที่บ้วนออกมา ซึ่งอาจมีเลือดปนเล็กน้อย เนื่องจากในขณะส่องกล้องอาจมีการครูด การถลอกเกิดขึ้นได้บ้าง โดยปกติจะหายได้เองภายใน 1-2 วัน แต่ถ้ามีเลือดออกมากผิดปกติ ให้รีบแจ้งแพทย์หรือพยาบาล หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดมากบริเวณลำคอ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก มีไข้สูง ควรรีบมาพบแพทย์

ในบางรายแพทย์อาจให้ยานอนหลับ ยาคลายกังวล หลังทำจะต้องรอพักฟื้นประมาณ 1-2 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงกลับบ้านได้ โดยห้ามขับรถเอง ต้องมีญาติหรือผู้ติดตามมาด้วย และห้ามทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรทุกชนิด หลังจากส่องกล้อง 1-2 วัน สามารถออกกำลังกายหรือทำงานได้ตามปกติ ให้รับประทานยาตามแพทย์สั่งและมาตรวจตามนัด

ค่ารักษา

เพิ่มเติม
การรักษา ราคา(บาท)
ตรวจทางเดินอาหารด้วยการกลืนแคปซูล (Capsule Endoscopy) 1 คืน 50,000 บาท
ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพื่อวินิจฉัย Colonoscope 20,000 บาท
ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพื่อการรักษา Colonoscope แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน
ส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นเพื่อวินิจฉัย Gastroscope 12,000 บาท
ส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นเพื่อการรักษา Gastroscope แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน
ส่องกล้อง Gastrocope - Colonoscope ในเวลาเดียวกันเพื่อวินิจฉัย 25,000 บาท
ส่องกล้อง Gastrocope - Colonoscope ในเวลาเดียวกันเพื่อการรักษา แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน
ส่องกล้องตรวจทวารหนักส่วนปลาย Sigmoidoscopy 20,000 บาท
การใส่บอลลูนกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก(ชนิด 1 ปี) (Gastric Balloon) 1 คืน 180,000 บาท
การใส่บอลลูนกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก(ชนิด 6 เดือน) (Gastric Balloon) 2 คืน 120,000 บาท
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องส่วนบน (CT Upper Abdomen) 8,000 บาท
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องทั้งหมด (CT Whole Abdomen) 14,000 บาท
การวินิจฉัย การเคลื่อนตัวของกากอาหารในลำไส้ใหญ่ ( COLONIC TRANSIT STUDY)) 3,400 บาท
อัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen) 2,000 บาท
อัลตราซาวด์ช่องท้องทั้งหมด (Ultrasound Whole Abdomen) 3,000 บาท
เอกซ์เรย์ (X-ray) (Plain Film) 400 บาท/1ส่วน
ปากกาลดน้ำหนัก ด้ามละ 4,200บาท
การรักษา
ตรวจทางเดินอาหารด้วยการกลืนแคปซูล (Capsule Endoscopy)
1 คืน
50,000 บาท
ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพื่อวินิจฉัย Colonoscope
20,000 บาท
ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพื่อการรักษา Colonoscope
แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน
ส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นเพื่อวินิจฉัย Gastroscope
12,000 บาท
ส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นเพื่อการรักษา Gastroscope
แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน
ส่องกล้อง Gastrocope - Colonoscope ในเวลาเดียวกันเพื่อวินิจฉัย
25,000 บาท
ส่องกล้อง Gastrocope - Colonoscope ในเวลาเดียวกันเพื่อการรักษา
แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน
ส่องกล้องตรวจทวารหนักส่วนปลาย Sigmoidoscopy
20,000 บาท
การใส่บอลลูนกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก(ชนิด 1 ปี) (Gastric Balloon)
1 คืน
180,000 บาท
การใส่บอลลูนกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก(ชนิด 6 เดือน) (Gastric Balloon)
2 คืน
120,000 บาท
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องส่วนบน (CT Upper Abdomen)
8,000 บาท
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องทั้งหมด (CT Whole Abdomen)
14,000 บาท
การวินิจฉัย การเคลื่อนตัวของกากอาหารในลำไส้ใหญ่ ( COLONIC TRANSIT STUDY))
3,400 บาท
อัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen)
2,000 บาท
อัลตราซาวด์ช่องท้องทั้งหมด (Ultrasound Whole Abdomen)
3,000 บาท
เอกซ์เรย์ (X-ray) (Plain Film)
400 บาท/1ส่วน
ปากกาลดน้ำหนัก ด้ามละ
4,200บาท

แพทย์ประจำศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เพิ่มเติม

หัตถการของศูนย์ทางเดินอาหารและตับ