chat

การฝังเข็มเพื่อควบคุมน้ำหนัก

เมื่อนึกถึง “ศาสตร์การฝังเข็ม” อันเป็นการแพทย์ “ร่วมรักษา” หรือ “การแพทย์ทางเลือก” ตามแบบฉบับแพทย์แผนจีน หลายคนคงนึกถึงการฝังเข็มตามจุดต่างๆบนเส้นลมปราณตามร่างกาย เช่น แขนขา แผ่นหลัง ฯลฯ โดยอาศัยทฤษฎีเส้นลมปราณ หลักหยินหยาง องค์ความรู้เรื่องสรีระศาสตร์ ซึ่งแต่ละบุคคลมีพื้นฐานร่างกายที่แตกต่างกัน เช่น มีความร้อนและความชื้นสะสมอยู่ในร่างกายในอัตราส่วนที่ไม่เท่ากัน คุณภาพของเลือดและลมปราณที่แตกต่างกัน เป็นต้น นอกจากจะช่วยรักษาโรคทั่วไปแล้ว ศาสตร์การฝังเข็มยังถูกนำมาประยุกต์ใช้กับความสวยความงามอีกด้วย ภายใต้แนวคิด “บำรุงรักษาฟื้นฟูจากภายในสู่ภายนอก” เพราะศาสตร์แพทย์แผนจีนมองว่าการทำงานของอวัยวะภายในย่อมส่งผลออกมาสู่อวัยวะภายนอก สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องสิว ฝ้ากระ และริ้วรอยบนใบหน้า หรือแม้แต่เรื่องการลดน้ำหนัก ศาสตร์การฝังเข็มก็สามารถเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีให้เราได้เช่นกัน

ราคาการฝังเข็มเพื่อควบคุมน้ำหนักที่โรงพยาบาลยันฮี

ศาสตร์การฝังเข็ม

การฝังเข็มเพื่อควบคุมน้ำหนัก

การเตรียมความพร้อมก่อนมาฝังเข็มเพื่อควบคุมน้ำหนัก

การปฏิบัติตัวหลังฝังเข็มเพื่อควบคุมน้ำหนัก

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ “การฝังเข็มเพื่อควบคุมน้ำหนัก”

ศาสตร์การฝังเข็ม

การฝังเข็มเพื่อควบคุมน้ำหนัก

การฝังเข็มเป็นการปักเข็มลงบนผิวหนังให้เข็มแทรกลงไประหว่างเนื้อเยื่อ ทำควบคู่ไปกับการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าอ่อนๆ เพื่อกระตุ้นร่างกายให้รักษาตนเอง โดยหลั่งสารสื่อประสาทหลายชนิดซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งอาการเจ็บปวด ลดการอักเสบ เพิ่มการไหลเวียนโลหิตที่ดี ทั้งนี้ การฝังเข็มเพื่อความงามสามารถจำแนกได้ออกเป็นการฟื้นฟูสุขภาพผิวหน้าให้เปล่งปลั่งกระจ่างใส ช่วยชะลอความเหี่ยวย่นของผิวหนัง และช่วยควบคุมน้ำหนักสำหรับคนที่เป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน

การฝังเข็มเพื่อควบคุมน้ำหนัก

ในมุมมองของแพทย์แผนจีน ความอ้วนเกิดจากอวัยวะภายในร่างกายพร่อง เช่น การทำงานของม้ามกับกระเพาะไม่สอดคล้องกัน พลังหยางโดนทำลาย ตับและไตทำงานไม่พ้องกัน ทำให้ร่างกายเกิดความชื้น เลือดอุดกั้น ส่งผลให้ระบบเผาผลาญ รวมไปถึงการดูดซึมอาหารของร่างกายพร่องตามไปด้วย เป็นสาเหตุทำให้อ้วนง่าย การฝังเข็มเพื่อควบคุมน้ำหนักจึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน มีไขมันส่วนเกิน เต็มไปด้วยเซลลูไลท์ รวมทั้งการเกิดภาวะ “บวมน้ำ”

การฝังเข็มเพื่อควบคุมน้ำหนัก

ทั้งนี้ การฝังเข็มมีผลต่อสมองส่วนรับรู้เรื่องความอิ่ม ให้ทำงานน้อยลงและไปกระตุ้นสมองส่วนรับรู้เรื่องความอิ่มให้มากขึ้น จึงทำให้รู้สึกไม่อยากอาหาร ส่งผลต่อสารคัดหลั่งภายในร่างกาย เช่น อินซูลิน ทำให้ระบบเผาผลาญไขมันและน้ำตาลดีขึ้น ผลลัพธ์หลังการฝังเข็มส่งผลให้การตกค้างของสารอาหารในร่างกายที่จะสะสมเป็นไขมันลดน้อยลง ระบบขับถ่ายดีขึ้น อิ่มง่าย ไม่หิวไว ทำให้การเคลื่อนไหวของกระเพาะและลำไส้ช้าลง ทั้งยังลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร

ในกรณีที่ใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า ผู้ป่วยจะรู้สึกว่ากล้ามเนื้อบริเวณที่ปักเข็มเต้นกระตุกเบาๆ เป็นจังหวะตามกระแสไฟฟ้าที่กระตุ้น โดยทั่วไประหว่างกระตุ้นฝังเข็มผู้ป่วยไม่ควรเกิดอาการเจ็บปวด  หรือชามากจนเกินไป หากรู้สึกเจ็บปวดมากหรือมีอาการชามาก ควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะเข็มอาจจะไปสัมผัสเส้นเลือดหรือเส้นประสาท หรือตำแหน่งของ เข็มไม่ถูกต้อง หรือตั้งความแรงของกระแสไฟฟ้าจาก เครื่องกระตุ้นไม่เหมาะสมก็ได้ แพทย์จะทำการปรับแก้ไขให้

ขณะที่มีเข็มปักคาร่างกายควรนั่งหรือนอนนิ่งๆ ไม่ควรขยับเคลื่อนไหวส่วนของร่างกายที่มีเข็มปักคาอยู่ เพราะอาจทำให้เข็มงอหรือหักได้ แต่ร่างกายส่วนอื่นๆที่ไม่มีเข็มปักสามารถขยับเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย หากมีอาการผิดปกติ เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หน้ามืด วิงเวียนศีรษะเหมือนจะเป็นลม ให้รีบแจ้งแพทย์ทันที ระหว่างที่ปักเข็มรักษา ผู้ป่วยควรอยู่ในอิริยาบถที่สงบผ่อนคลาย อาจหลับตาและหายใจเข้าออกช้าๆเป็นจังหวะสม่ำเสมอร่วมไปด้วย ในระหว่างที่ปักเข็มกระตุ้นผู้ป่วยบางคนอาจรู้สึกง่วงนอน เนื่องจากการฝังเข็มสามารถกระตุ้นให้ร่างกายมีการหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphins) เกิดขึ้น สารนี้มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีนช่วยลดความเจ็บปวดและ ช่วยกล่อมประสาทให้รู้สึกเคลิบเคลิ้ม เมื่อรักษาไปหลายครั้งจะช่วยให้นอนหลับง่าย หลับสนิทและลึกขึ้น

การฝังเข็มเพื่อควบคุมน้ำหนัก

ขั้นตอนการฝังเข็มเพื่อควบคุมน้ำหนักที่ศูนย์แพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลยันฮี
icon-num

ขั้นตอนการฝังเข็ม

ถือเป็นขั้นตอนแรกของการฝังเข็มเพื่อควบคุมน้ำหนัก ความถี่และจำนวนครั้งในการฝังเข็มขึ้นอยู่กับอายุและสภาพร่างกายของผู้มารับบริการเป็นสำคัญ ผู้ที่อายุน้อยร่างกายแข็งแรงจะได้ผลเร็วที่สุดเฉลี่ย 5-15 ครั้ง โดยทำ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์เมื่อแพทย์ปักเข็มลงบนผิวหนัง ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อย เมื่อปักถึงตำแหน่งจุดผู้ป่วยจะรู้สึกชาเล็กน้อย เมื่อแพทย์เริ่มกระตุ้นเข็มจะรู้สึกหนักชามากขึ้นหากเกิดความรู้สึกเช่นนี้แสดงว่ามีผลการรักษาดี โดยเข็มที่ใช้ในการฝังเข็มรักษาเป็นเข็มใหม่ซึ่งปราศจากเชื้อเป็นเข็มแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ไม่มีการนำเอามาใช้ซ้ำ ถูกสุขอนามัย

การฝังเข็มเพื่อควบคุมน้ำหนัก

icon-num

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า

เป็นวิธีรักษาที่ใช้เข็มร่วมกับกระแสไฟฟ้าเพื่อการกระตุ้นจุดฝังเข็ม กระแสไฟฟ้าที่ใช้มีกำลังอ่อนๆ ใกล้เคียงกับกระแสไฟฟ้าความถี่ต่ำที่ไหลอยู่ตามปกติในร่างกายมนุษย์ เมื่อฝังเข็มลงบนจุดจนเกิดการได้ชี่แล้ว จึงใช้สายไฟต่อจากเข็มไปยังเครื่องกระตุ้นกระแสไฟฟ้า แล้วเปิดไฟฟ้าในความถี่และรูปแบบตามข้อบ่งบอกถึงความผิดปกติ สามารถเพิ่มประสิทธิผลการรักษาโดยย่นระยะเวลาให้สั้นลง ปัจจุบันนิยมใช้เครื่องกระตุ้นกึ่งตัวนำไฟฟ้าใช้ได้ทั้งกับกระแสไฟฟ้าตรงและสลับ ซึ่งไม่ถูกจำกัดการใช้งานในแง่ของแหล่งพลังงานไฟฟ้า เครื่องดังกล่าวนี้จะมีอุปกรณ์ที่ควบคุมการสั่นและปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาเป็นจังหวะ จึงมีความปลอดภัยและสะดวกในการใช้งาน สามารถควบคุมปรับขนาดได้ว่าจะให้กระตุ้นเบาหรือแรงตามที่ต้องการได้ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าการใช้เข็มกระตุ้นเพียงอย่างเดียว สามารถปรับสมดุลหยินหยางในร่างกาย เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้เส้นลมปราณเดินได้สะดวก

การฝังเข็มเพื่อควบคุมน้ำหนัก

icon-num

การครอบแก้ว

ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของชี่และโลหิตให้ไหลเวียนสะดวก ทะลวงเส้นลมปราณ ขจัดเลือดคั่ง ขจัดการอักเสบและสลายบวม โดยแพทย์จะใช้แก้วใสปลอดเชื้อให้ความร้อนไล่อากาศภายในแก้วเพื่อลดความดันภายใน แล้วจึงครอบลงบนผิวหนัง แก้วจะดูดผิวหนังและกล้ามเนื้อขึ้นมา จากนั้นผิวหนังจะเริ่มเปลี่ยนสีและมีรอยเกิดขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะภายใน เกิดการสะสมของเสียและเลือดที่อุดตันภายในกล้ามเนื้อ โดยการครอบแก้วมีหลากหลายวิธี ได้แก่ “แบบครอบทิ้งไว้” บนผิวหนังตามตำแหน่งเส้นลมปราณโดยไม่ต้องเลื่อนแก้ว ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที แล้วจึงนำแก้วออก, “ครอบแก้วแบบเคลื่อนไหว” โดยใช้น้ำมันหล่อลื่นทาลงไปบนตำแหน่งที่จะรักษา จากนั้นนำแก้วครอบลงไป แล้วเลื่อนขึ้นลงหรือซ้ายขวา, “ครอบแก้วคู่กับการฝังเข็ม” เพิ่มประสิทธิภาพการฝังเข็มและครอบแก้วควบคู่กัน

การฝังเข็มเพื่อควบคุมน้ำหนัก

icon-num

ใช้เมล็ดผักกาดติดหู

เป็นการติดเมล็ดหวังปู้หลิวสิง ซึ่งเป็นสมุนไพรจีนชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายเมล็ดผักกาด หรือเรียกว่า “การแปะหู” หรือการติดหมุดใบหู เป็นหนึ่งในการรักษาด้วยการกดจุดสะท้อนที่ใบหูของแพทย์แผนจีน เพื่อกระตุ้นระบบเผาผลาญและลดความอยากอาหาร เนื่องจากหูเป็นอวัยวะที่มีจุดสะท้อนมากมายที่เชื่อมโยงกับอวัยวะของร่างกายทั้งภายในภายนอก หนึ่งในนั้นคือ “จุดหิว” ทั้งยังมีจุดกระเพาะอาหาร จุดลำไส้ใหญ่ จุดลำไส้เล็ก และจุดสะท้อนอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งการกดจุดดังกล่าวจะส่งสัญญาณสื่อประสาทไปที่สมอง ทำให้สมองสั่งการไปยังอวัยวะนั้น ๆ จึงช่วยควบคุมความหิว กระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร ลำไส้ และระบบเผาผลาญได้เป็นอย่างดี

การฝังเข็มเพื่อควบคุมน้ำหนัก

การเตรียมความพร้อมก่อนมาฝังเข็มเพื่อควบคุมน้ำหนัก

ผู้ที่มารับบริการฝังเข็มเพื่อความงามควรรับประทานอาหารมาก่อนประมาณ 1-2 ชั่วโมง และไม่ควรรับประทานอาหารมากจนเกินไป เนื่องจากจะทำให้มีอาหารตกค้างอยู่ในกระเพาะมาก เมื่อมาฝังเข็มซึ่งต้องนอนเป็นเวลาระหว่าง 20-30 นาที อาจทำให้รู้สึกอึดอัด ในทางตรงกันข้าม ไม่ควรมารักษาในขณะที่กำลังหิวจัด เนื่องจากอาจเกิดอาการหน้ามืดเป็นลมได้ง่ายเมื่อกระตุ้นเข็มแรงๆ เนื่องจากร่างกายอาจขาดพลังงานที่จะนำมาใช้เผาผลาญ ขณะที่ระบบประสาทและฮอร์โมนกำลังถูกกระตุ้นจากการฝังเข็ม สตรีที่กำลังมีประจำเดือนสามารถปักเข็มรักษาได้โดยไม่เป็นอันตราย ควรขับถ่ายปัสสาวะอุจจาระให้เรียบร้อยก่อนฝังเข็ม เพื่อมิให้การรักษาต้องหยุดชะงักกลางคัน

การปฏิบัติตัวหลังจากฝังเข็มเพื่อควบคุมน้ำหนัก

หลังจากปักเข็มกระตุ้นครบเวลาตามกำหนด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 20 – 30 นาทีแล้ว แพทย์จะถอนเข็มออก บางครั้งอาจมีเลือดออกเล็กน้อยบริเวณจุดที่ปักเข็ม เนื่องจากเข็มอาจปักไปโดนเส้นเลือดฝอยเล็กๆ เมื่อใช้สำลีกดไว้สักครู่ เลือดจะหยุดได้เอง หลังสิ้นสุดการรักษา สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เว้นแต่บางคนอาจมีอาการอ่อนเพลีย เมื่อนอนพักผ่อนสักพักก็จะหายไปได้เอง

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม

ฝังเข็มด้วยแพทย์แผนจีน

ราคาการฝังเข็มเพื่อความงามที่โรงพยาบาลยันฮี

ฝังเข็มเพื่อลดน้ำหนัก

1,800 บาท

ฝังเข็มเพื่อลดน้ำหนัก 5 ครั้ง

7,850 บาท

ฝังเข็มเพื่อลดน้ำหนัก 10 ครั้ง

16,000 บาท

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ “การฝังเข็มเพื่อควบคุมน้ำหนัก”

ถาม
ตอบ

บุคคลกลุ่มใดที่สงวนไว้ไม่สามารถรักษาด้วยการฝังเข็มเพื่อควบคุมน้ำหนักได้

  • เป็นโรคเลือดหยุดยาก หรือฮีโมฟีเลีย, ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดหรือยายับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด เช่น เฮปาริน, วอร์ฟาริน, แอสไพริน โดยทั่วไปแล้วยังสามารถฝังเข็มรักษาโรคได้ แต่ต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ แพทย์จะต้องปักหรือกระตุ้นเข็มอย่างนุ่มนวล ระวังไม่ให้เข็มปักโดนเส้นเลือดใหญ่ และหลังจากถอนเข็ม ต้องใช้เวลาการกดห้ามเลือดนานกว่าผู้ป่วยทั่วไป
  • สตรีตั้งครรภ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงใกล้คลอด เพราะไม่สามารถนอนหรือนั่งเป็นเวลานานๆได้ การนอนหงายจะทำให้มดลูกและทารกในครรภ์กดทับหลอดเลือดดำใหญ่ในช่องท้อง อาจทำให้ผู้ป่วยมีความดันเลือดต่ำจนเป็นลมได้ นอกจากนี้ การปักเข็มที่รุนแรงอาจกระตุ้นให้มดลูกบีบตัวมากเกินไป
  • หากเป็นหวัดมีอาการเล็กน้อยสามารถฝังเข็มได้ แต่ถ้ามีไข้สูงหรือไออย่างรุนแรง อาจทำให้เข็มที่ปักอยู่หลุดหรือมีโรคอื่นเกิดแทรกซ้อน ควรงดฝังเข็มไว้ก่อนชั่วคราว จนกว่าอาการจะทุเลาจึงมาฝังเข็มรักษาต่อไป
ถาม
ตอบ

มีข้อจำกัดใดบ้างในการใช้เครื่องกระตุ้นเข็มไฟฟ้า?

ผู้ที่มีโรคหัวใจที่ใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ จะงดเว้นการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า

ถาม
ตอบ

การใช้เมล็ดผักกาดติดหูเพื่อลดความอยากอาหารจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงอะไรบ้าง และมีข้อจำกัดอะไรที่ทำให้ไม่สามารถติดเมล็ดผักกาดได้บ้าง?

อาจเกิดอาการเจ็บที่ใบหู ขณะติดเมล็ดผักกาด หรืออาจเกิดอาการระคายเคือง รอยแดง บวม ปวดระบม กดแล้วเจ็บ หากมีอาการเหล่านี้ ให้แพทย์นำเมล็ดผักกาดออกทันที สำหรับผู้ที่ไม่สามารถติดเมล็ดผักกาดที่หู ได้แก่ ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะการกดจุดสะท้อนบางจุดอาจส่งผลให้มดลูกบีบตัวได้ รวมทั้งผู้ที่มีปัญหาที่หู เช่น แผลบริเวณใบหู ติดเชื้อที่ใบหู หรือเป็นไข้หวัด ควรรักษาให้หายก่อน

แพทย์ผู้เขียนบทความ