การปล่อยเลือด

การปล่อยเลือด

การปล่อยเลือด ด้วยแพทย์แผนจีน

การปล่อยเลือด เป็นศาสตร์การรักษาที่อยู่มานานนับหลายพันปี เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษาตามแนวทางแพทย์แผนจีน ที่มีหลักการว่า การไหลเวียนของเลือดและลมปราณในร่างกายเรานั้น จะเป็นตัววัดสุขภาพร่างกายของเรา หากการไหลเวียนของเลือดเกิดติดขัด จะทำให้เลือดคั่งในบริเวณนั้นๆ การปล่อยเลือดเป็นการเอาเลือดส่วนที่คั่งออก ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

การปล่อยเลือด เป็นหนึ่งในศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดยใช้เข็มสะอาดปลอดเชื้อสะกิดบนผิวหนังที่จะทำการรักษา ช่วยขจัดพิษออกจากร่างกาย ขับร้อน ระบายพิษ ช่วยขับไฟ ปรับการไหลเวียนของโลหิตและพลัง สลายก้อนเลือดคั่ง ทะลวงเส้นลมปราณ แก้ปวด ลดบวม หยุดอาการชัก ซึ่งอาจรักษาร่วมกับวิธีอื่นๆ ตามความเหมาะสม ทั้งนี้การปล่อยเลือดเป็นวิธีการรักษาที่ต้องใช้ดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถรักษาด้วยวิธีนี้ได้ แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยคนไข้รายนั้นๆ ว่าสมควรได้รับการรักษาด้วยการปล่อยเลือดหรือไม่

ประโยชน์ของการปล่อยเลือด

  • ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเส้นลมปราณและเส้นเลือดให้ไหลเวียนได้สะดวก ช่วยสลายก้อนเลือดคั่งและเพิ่มสมรรถภาพการไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น
  • ช่วยขับความร้อนในร่างกาย และระบายพิษเสีย
  • ช่วยแก้อาการปวด ลดบวม และลดการอักเสบ

การปล่อยเลือดเหมาะสำหรับใคร

  • ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง และทำการรักษามานานแต่อาการยังไม่ดีขึ้น ควรสะกิดเลือดเสียออกไป เพื่อให้ร่างกายได้สร้างเซลล์เม็ดเลือดใหม่ขึ้นมาและขับพิษร้อนออกจากร่างกาย การปล่อยเลือดสามารถรักษาอาการปวด และป้องกันยับยั้งการดำเนินของโรคไปในทางที่เลวร้ายพร้อมๆ กันไป

การเตรียมตัวก่อนการรักษา

  • ทำความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อย เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโรคให้มากที่สุด เช่น การอาบน้ำ สระผม ก่อนเข้าทำการรักษา
  • รับประทานอาหารได้ตามปกติ และควรรับประทานอาหารมาก่อนประมาณ 1-2 ชั่วโมง และไม่ควรรับประทานอาหารจนอิ่มมากเกินไป หากมีโรคประจำตัว ท่านสามารถรับประทานยาได้ตามปกติ

วิธีการปล่อยเลือด

  • แพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยอาการโรคก่อนทำการรักษา
  • แพทย์ใช้เข็มที่สะอาดปลอดเชื้อ เจาะบนบริเวณผิวหนังที่จะทำการรักษา โดยเจาะลึกลงประมาณ 0.1-0.3 มิลลิเมตร แล้วปล่อยให้เลือดไหลออกมา บางครั้งอาจใช้แก้วปลอดเชื้อที่ผ่านการทำให้เป็นสุญญากาศ ทำการครอบดูดผิวหนังและกล้ามเนื้อขึ้นมา เพื่อให้เลือดไหลออกได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นการปรับสมดุลภายในร่างกายอีกวิธีหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม การปล่อยเลือดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนได้ดังนี้

  • อาการพุพอง ตุ่มน้ำใส หรือรอยไหม้บริเวณที่รักษา ส่วนในกรณีที่มีการครอบแก้วร่วมด้วย ทางโรงพยาบาลได้เตรียมการป้องกัน โดยประเมินผิวหนังเป็นระยะขณะที่กำลังทำหัตถการ และมีพยาบาลคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
  • อาการเป็นลม ซึ่งเกิดจากการตื่นเต้น กลัวเข็ม ร่างกายอ่อนเพลีย ท้องว่าง หรืออิ่มมากเกินไป ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารก่อนทำการรักษา 1-2 ชั่วโมง โดยไม่ควรรับประทานอาหารจนอิ่มเกินไป
  • อาการเลือดไหลไม่หยุด ซึ่งเป็นผลมาจากโรคประจำตัวของคนไข้เอง ซึ่งแพทย์จะงดการปล่อยเลือดในคนไข้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด หรือ มีประวัติเลือดหยุดยาก
  • อาการปวดในบริเวณที่ทำการรักษา ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว และอาการปวดจะทุเลาลงประมาณ 2-3 ชั่วโมง
  • รอยแดง ม่วงช้ำ ซึ่งถือเป็นอาการปกติหลังปล่อยเลือด และสามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์
  • ผลข้างเคียงที่อาจพบได้น้อยมากคือ การอักเสบ ซึ่งทางโรงพยาบาลได้ให้การป้องกันโดยการใช้อุปกรณ์ที่ผ่านการทำให้ปลอดเชื้อทั้งหมด

คำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังการปล่อยเลือด

  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น การตากแอร์เย็นหรือลมเย็นๆ เป็นเวลา 2 ชั่วโมงหลังการปล่อยเลือด
  • งดการอาบน้ำเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังทำการปล่อยเลือด
  • แพทย์จะนัดมาทำการปล่อยเลือดซ้ำอีกภายใน 1 สัปดาห์ หรือ ตามดุลยพินิจของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์ก่อนเวลานัดหมาย
  • สำรวจร่างกายตนเองว่า บริเวณที่ทำการปล่อยเลือดนั้นหากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น เช่น มีเลือดออก มีรอยบวม รู้สึกเจ็บปวด ต้องรีบแจ้งแพทย์ให้ทราบทันที เพื่อการแก้ไขรักษาได้ก่อนที่จะกลับบ้าน

ในคนไข้ที่ไม่พร้อมปล่อยเลือด ก็สามารถรักษาได้ด้วยวิธีอื่นๆ ตามแนวทางแพทย์แผนจีน เช่น การฝังเข็ม  การครอบแก้ว  การใช้ยาสมุนไพรจีน เป็นต้น

การรักษาด้วยการปล่อยเลือดนั้น คนไข้ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์แผนจีนที่ได้รับใบประกอบโรคศิลป์สาขาการแพทย์แผนจีน เพราะหากทำโดยบุคคลที่ไม่ใช่แพทย์อาจก่อให้เกิดอันตรายกับคนไข้ นอกจากนี้ต้องเลือกรักษาในสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน น่าเชื่อถือ จึงจะส่งผลดีต่อการรักษาและมีความปลอดภัย

ค่ารักษา

เพิ่มเติม
การรักษา ราคา(บาท)
ค่าแมะ 400 บาท
ฝังเข็ม (แพทย์แผนจีน) 1,000 บาท
รมยา / ต่อครั้ง 450 บาท
อบความร้อนด้วยโคม (ชม.) 260 บาท
ครอบแก้ว (ส่วน) 570 บาท
กวาซา (ส่วน) 520 บาท
ปล่อยเลือด (จุด) 260 บาท
ค่าต้มยาสมุนไพรจีนพร้อมบรรจุซอง (ต่อซอง) 15 บาท
ค่าปรุงยา (บด/ผัด/ผสม) สมุนไพร พร้อมบรรจุซอง 300 บาท
การรักษา
ค่าแมะ
400 บาท
ฝังเข็ม (แพทย์แผนจีน)
1,000 บาท
รมยา / ต่อครั้ง
450 บาท
อบความร้อนด้วยโคม (ชม.)
260 บาท
ครอบแก้ว (ส่วน)
570 บาท
กวาซา (ส่วน)
520 บาท
ปล่อยเลือด (จุด)
260 บาท
ค่าต้มยาสมุนไพรจีนพร้อมบรรจุซอง (ต่อซอง)
15 บาท
ค่าปรุงยา (บด/ผัด/ผสม) สมุนไพร พร้อมบรรจุซอง
300 บาท

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม