chat

การตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ

ในปัจจุบัน “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน” นับเป็นปัญหาสุขภาพร้ายแรงที่เป็นฉนวนเหตุของโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ซึ่งในบ้านเรามีอัตราของผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นจากโรคนี้ โดยอาการสำคัญที่สังเกตได้นั่นคือ เจ็บหน้าอก เหนื่อย จนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันหรือไม่สามารถออกกำลังกายได้ รวมไปถึงในบางรายที่ยังไม่มีอาการแสดงใด ๆ แต่มีภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันแฝงอยู่โดยไม่รู้ตัว

“หินปูนหรือแคลเซียม” เกาะหลอดเลือดหัวใจ

อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน มักเกิดจากมีการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือด และมีการสะสมของแคลเซียมหรือหินปูนร่วมอยู่ด้วย จึงทำให้หลอดเลือดแข็งและเกิดการตีบตัน โดยหินปูนที่เกาะอยู่ในหลอดเลือดหัวใจเกิดจากการเสื่อมสภาพของแคลเซียมในร่างกาย หรืออาจเกิดจากกลไกธรรมชาติของร่างกายที่สร้างแคลเซียมเพื่อป้องกันเมื่อมีการอักเสบต่าง ๆ เกิดขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการไหลเวียนของเลือดสู่หัวใจ ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันจนนำไปสู่โรคหัวใจวายเฉียบพลันในที่สุด

ใครบ้างที่ควรตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ

ตรวจวันนี้…รู้ทันโรคหลอดเลือดหัวใจ

ในปัจจุบันการตรวจหาหินปูนหรือแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Calcium Score)โดยวิธีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan เพื่อหาปริมาณแคลเซียมบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจและบอกเป็นระดับคะแนนตั้งแต่ 0-400 ขึ้นไป เพื่อนำไปประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนที่จะมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเกิดขึ้น เป็นวิธีการตรวจที่มีความแม่นยำสูง ใช้เวลาตรวจไม่เกิน 15 นาที ไม่ต้องฉีดสี ไม่เจ็บตัว รู้ผลเร็ว โดยไม่ต้องเตรียมตัวใด ๆ และไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

  • มีความแม่นยำสูง
  • ไม่ต้องฉีดสี
  • รู้ผลเร็ว
  • ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
  • ใช้เวลาตรวจไม่เกิน 15 นาที
  • ไม่เจ็บตัว
  • ไม่ต้องเตรียมตัวใดๆ

ผลตรวจบ่งชี้ความเสี่ยง

ระดับหินปูน

0

= ความเสี่ยงหัวใจวาย “ต่ำ”

ระดับหินปูน

1-10

= ความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน “น้อย”

ระดับหินปูน

11-100

= ความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน “ระดับกลาง”

ระดับหินปูน

101-400

= ความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน “ระดับกลาง ถึง ระดับสูง”

ระดับหินปูน

400ขึ้นไป

= อาจมีภาวะหลอดเลือดตีบตันแฝงอยู่ และเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจวายเฉียบพลันสูง

หมายเหตุ

ผลคะแนนในระดับ 11-100

แพทย์อาจแนะนำให้ใช้วิธีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที 3 วันต่อสัปดาห์ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น การควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง งดดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่

ผลคะแนนในระดับ 101-400 ขึ้นไป

แพทย์อาจแนะนำให้มีการตรวจเพิ่มเติมและหากตรวจพบจนแน่ชัดแล้วว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน แพทย์ก็จะแนะนำวิธีการรักษาให้เหมาะสมต่อไป

“การตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ” นับเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองและสามารถช่วยให้คุณรู้เท่าทันโรคที่เป็นอันตรายต่อชีวิตอย่าง “โรคหัวใจวายเฉียบพลัน” ที่สามารถเกิดกับใคร…เวลาไหนก็ได้

หัตถการของศูนย์หัวใจ

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม