chat

การตรวจระดับวิตามินและแร่ธาตุ

‘วิตามิน’ และ ‘แร่ธาตุ’ เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อกลไกการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ หากทานอาหารที่เป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุในปริมาณที่เหมาะสม และเป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ทว่า ร่างกายของแต่ละบุคคลย่อมมีปริมาณวิตามินและแร่ธาตุแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน สิ่งแวดล้อม การดูดซึม เป็นต้น หลายคนรับประทานทั้งอาหารหลักและอาหารเสริม โดยไม่รู้จักฐานข้อมูลสุขภาพของตัวเองมาก่อนว่า อัตราส่วนวิตามินและแร่ธาตุแต่ละประเภทในร่างกายของตัวเองนั้นมากเกินไปหรือน้อยเกินไป จึงอาจตรวจระดับวิตามินและแร่ธาตุเพิ่มเติม เพื่อวางแผนในการดูแลสุขภาพ รับประทานอาหาร และอาหารเสริมได้อย่างเหมาะสม ภายใต้การดูแลและให้คำแนะนำโดยแพทย์เฉพาะทาง โรงพยาบาลยันฮีมีบริการตรวจเลือดวิเคราะห์ปริมาณสารอาหารวิตามินและเกลือแร่ 18 ชนิด รวมทั้งวิตามินบำบัด เพื่อเติมเต็มวิตามินและเกลือแร่ที่ขาดให้เกิดความสมดุล

ราคาการตรวจเลือดวิเคราะห์ปริมาณสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ 18 ชนิดที่โรงพยาบาลยันฮี

การตรวจวัดระดับวิตามินและแร่ธาตุในร่างกายสำคัญอย่างไร?

รายการตรวจเลือดวิเคราะห์ปริมาณสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ 18 ชนิด (Micronutrients)

การเตรียมความพร้อมก่อนตรวจเลือดวิเคราะห์ปริมาณสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ 18 ชนิด

ประโยชน์ของการตรวจเลือดวิเคราะห์ปริมาณสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ 18 ชนิด

ใครควรตรวจเลือดวิเคราะห์ปริมาณสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ 18 ชนิด

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับการตรวจเลือดวิเคราะห์ปริมาณสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ 18 ชนิดที่ โรงพยาบาลยันฮี

การตรวจวัดระดับวิตามินและแร่ธาตุในร่างกายสำคัญอย่างไร?

ตรวจวัดระดับวิตามินและแร่ธาตุ

สามารถนำผลการตรวจไปวิเคราะห์ว่าร่างกายของแต่ละคนขาดวิตามินอะไรบ้าง นำไปสู่การวางแผนดูแลสุขภาพเพื่อปรับพฤติกรรมการกิน การเลือกอาหารเสริม การให้วิตามินทางเส้นเลือด และการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะสมภายใต้คำแนะนำโดยแพทย์เฉพาะทาง ถือเป็นเวชศาสตร์ป้องกันแบบหนึ่งโดยไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาสุขภาพจึงค่อยมาตรวจหาวิตามินและแร่ธาตุในร่างกาย แม้ในยามที่ร่างกายเป็นปกติดีก็สามารถมาตรวจวัดระดับวิตามินและเกลือแร่ของตัวเองได้ เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับทำความรู้จักร่างกายและต้นทุนทางสุขภาพของตัวเองว่าต้องเติมเต็มส่วนใดที่ยังขาดอยู่บ้าง

รายการตรวจเลือดวิเคราะห์ปริมาณสารอาหาร วิตามิน และเกลือแร่ 18 ชนิด (Micronutrients)
1. Vitamin C (HPLC) ตรวจระดับวิตามินซีในร่างกาย
2. Vitamin A (HPLC) ตรวจระดับวิตามินเอในร่างกาย
3. Vitamin E (HPLC) ตรวจระดับวิตามินเอในร่างกาย
4. Gamma Tocopherol ตรวจระดับวิตามินอีแกมม่าในร่างกาย
5. Beta Carotene ตรวจระดับเบต้าแคโรทีนในร่างกาย
6. Alpha Carotene ตรวจระดับแอลฟ่าแคโรทีนในร่างกาย
7. Coenzyme Q10 (HPLC) ตรวจระดับโคเอนไซม์คิวเทนซึ่งเป็นสารตั้งต้นของพลังงานในร่างกาย
8. Lutein ตรวจระดับลูทีนในร่างกาย
9. Zeaxanthin ตรวจระดับซีแซนทีน ในร่างกาย
10. Beta cryptoxanthin ตรวจระดับเบต้า คริปโตแซนธินในร่างกาย
11. Lycopene ตรวจระดับสารไลโคปีนในร่างกาย
12. Folate (Serum) ตรวจความสมดุลของโฟเลทในร่างกาย (โฟเลท)
13. Calcium ตรวจระดับแคลเซียมในเลือด
14. Serum Iron ตรวจปริมาณธาตุเหล็กในร่างกาย
15. Copper in Blood ตรวจระดับความสมดุลของทองแดงในร่างกาย
16. Magnesium ตรวจระดับความสมดุลของแมกนีเซียมในร่างกาย
17. Selenium in Blood ตรวจระดับความสมดุลของเซเลเนียมในร่างกาย
18. Zinc in Blood ตรวจระดับความสมดุลของสังกะสีในร่างกาย

การเตรียมความพร้อมก่อนตรวจเลือดวิเคราะห์ปริมาณสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ 18 ชนิด

ตรวจวัดระดับวิตามินและแร่ธาตุ

งดน้ำและอาหารก่อนตรวจอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง

งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และคาเฟอีนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง

ทานยาโรคประจำตัวได้ตามปกติ ไม่ต้องงด

ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบถึงยาและอาหารเสริมที่ใช้ก่อนการตรวจ เพราะอาหารเสริมบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ได้

ตรวจวัดระดับวิตามินและแร่ธาตุ

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

หยุดรับประทานวิตามินหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ทานอยู่เป็นประจำก่อนตรวจอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

ประโยชน์ของการตรวจเลือดวิเคราะห์ปริมาณสารอาหาร วิตามิน และเกลือแร่ 18 ชนิด

  • ช่วยให้เราเลือกวิตามินหรืออาหารเสริมได้อย่างเหมาะสม เพราะหากเรารับประทานวิตามิน อาหารเสริมที่เกินความต้องการของร่างกาย ก็อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้ จะได้ปรับอาหารการกินและเติมวิตามินหรืออาหารเสริมได้อย่างถูกต้อง
  • ช่วยให้ทราบว่าร่างกายเราขาดวิตามินชนิดใดอยู่ จะได้เลือกเติมวิตามินหรืออาหารเสริมได้ถูกต้อง
  • ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยอาการผิดปกติที่มีสาเหตุมาจากวิตามินได้ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนดูแลสุขภาพภายใต้คำแนะนำของแพทย์เฉพาะทาง

ใครควรตรวจเลือดวิเคราะห์ปริมาณสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ 18 ชนิด

ผู้ที่สงสัยว่าตนเองขาดวิตามิน ดังนี้ วิตามินบี 12 (Vitamin B12) มีอาการอ่อนเพลีย ชาตามมือและเท้า ปวดหัว โดยเฉพาะคนที่มีภาวะโลหิตจาง อาจมีแนวโน้มที่จะขาดวิตามินบี 12 มากกว่าผู้อื่น

วิตามินดี (Vitamin D) ป่วยง่าย อ่อนเพลีย ปวดหลัง ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ผมร่วง

วิตามินเอ (Vitamin A) มีความบกพร่องในการมองเห็นเวลากลางคืน

วิตามินอี (Vitamin E) มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ชาตามร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันทำงานด้อยลง

วิตามินซี (Vitamin C) สุขภาพผิวไม่ดี เล็บมีจุดหรือเส้นสีแดง ฟกช้ำง่าย แผลหายช้า กระดูกไม่แข็งแรง มีเลือดออกตามไรฟันหรือเหงือก

ผู้ที่กำลังจะตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โดยเฉพาะกลุ่มวิตามิน

ที่รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ มีปัญหาลำไส้ ระบบขับถ่ายและย่อยอาหาร

ที่กำลังรับการรักษาด้วยยา เช่น รับเคมีบำบัด รับยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน

ที่เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระ เช่น พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดสมองตีบ

ผู้สูงอายุ อายุ 50 ปีขึ้นไป

ผู้ที่ต้องการวางแผนในการดูแลสุขภาพ

ราคาการตรวจระดับวิตามินและแร่ธาตุที่โรงพยาบาลยันฮี

12,500 บาท **หมายเหตุ ยังไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับการตรวจระดับวิตามินและแร่ธาตุที่โรงพยาบาลยันฮี

ถาม
ตอบ

ระยะเวลาในการตรวจและรอผลตรวจนานเท่าไร?

ใช้เวลาในการตรวจเลือดไม่เกิน 1 ชั่วโมง และระยะเวลาในการรอผลตรวจ 1-2 สัปดาห์

ถาม
ตอบ

วิตามินเฉพาะบุคคลเหมาะกับใคร?

-ผู้สูงอายุและคนที่เจ็บป่วย กลุ่มคนเหล่านี้ได้รับสารอาหารและวิตามินไม่เพียงพอ ทำให้ต้องได้รับวิตามินเสริม

-หญิงตั้งครรภ์ ให้นมบุตร

-ผู้ที่มีระบบดูดซึมไม่ดี มีปัญหาเรื่องลำไส้

ถาม
ตอบ

หากผลตรวจออกมาแล้วขาดวิตามินชนิดใด ควรรับประทานอาหารชนิดใดเข้าไปเสริม?

หากขากเพียงเล็กน้อยให้กินเสริม หากขาดปานกลางอาจต้องกินควบคู่ไปกับวิตามินเสริม

-หากพบว่าร่างกายขาดเบต้าแคโรทีน ควรทานผักและผลไม้ที่มีสีแดง สีส้ม และสีเหลือง

-ขาดแอลฟ่าแคโรทีน ควรทานผักและผลไม้ใบเขียวหรือมีสีเหลือง

-ขาดโคเอนไซม์ คิวเท็น ควรทานเนื้อวัว ตับ ไต หัวใจ ปลาซาดีนเพิ่มเติม

-ขาดไลโคปิน ควรทานมะเขือเทศ แตงโม และผักผลไม้สีแดง

-ขาดลูทีน ควรทานองุ่น หรือผลไม้ตระกูลเบอร์รี่

-ขาดเบต้าคริปโตแซนทีน ควรทานอโวคาโด มะม่วงสุก และมะละกอ

-ขาดแมกนีเซียม ควรทานถั่ว และธัญพืช

-ขาดทองแดง ควรทานอาหารทะเลหรือถั่วต่าง ๆ

-ขาดซิลิเนียม ควรทานอาหารทะเล เครื่องใน เนื้อสัตว์ และธัญพืช เป็นต้น

แพทย์ผู้เขียนบทความ