chat

ปราบ“กรดไหลย้อน”เริ่มต้นด้วยการปรับพฤติกรรม

ขึ้นชื่อว่าปวดท้อง จุก เสียด แน่น หลายท่านคงเคยผ่านอาการนี้มาแล้ว เป็นความรู้สึกไม่สบายตัวเอาเสียเลย นั่งก็ปวด นอนก็ปวด แน่นหน้าอก แสบคอแบบไม่มีสาเหตุ รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดีหรือมีรสเปรี้ยวของกรดในคอ วันนี้ เรามาทำความรู้จักกับกรดไหลย้อน ที่ทำให้เราไม่สบายตัว นั่นคือสัญญาณเตือนของโรคกรดไหลย้อน (Gastro-Esophageal Reflux Disease) นั่นเอง

กรดไหลย้อนเกิดจากอะไรได้บ้าง

โรคกรดไหลย้อนนั้น พบว่า เกิดในคนวัยทำงานมากกว่าวัยอื่นๆ เนื่องจากชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบัน ไม่ว่าจะรีบกิน รีบไปทำงาน ทำให้หลายคนมีพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงเวลา กินหนักมื้อดึก กินดึกแล้วนอนเลย หรือแม้แต่การใช้ชีวิตด้านอื่นๆ ก็มีผลต่อการเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ใส่เสื้อรัดรูปมากเกินไป สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า นอนไม่พอ ท่านอนไม่ถูกต้อง และความเครียด ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน

กรดไหลย้อนย้อนขึ้นมาได้อย่างไร

โรคกรดไหลย้อน (Gastro-Esophageal Reflux Disease) คือ ภาวะที่มีการเกิดกรดหรือน้ำย่อยไหลย้อนจากกระเพาะอาหารเข้ามาในหลอดอาหาร แล้วทำให้เกิดอาการรบกวนผู้ป่วย และ/หรือ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การอักเสบของเยื่อบุของหลอดอาหาร ช่องปาก ลำคอ หรือทางเดินหายใจได้

สังเกตอาการกรดไหลย้อน

เราสามารถสังเกตอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ส่วนใหญ่ จะมีอาการเรอเปรี้ยว เรอบ่อย รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดีท้องอืด แสบคอ แสบร้อนบริเวณกลางเนินอกหรือลิ้นปี่ กลืนลำบาก มีเสมหะตลอดเวลา คลื่นไส้ รู้สึกแน่นหรือเจ็บหน้าอก และรู้สึกเหมือนอาหารไม่ย่อย หากสงสัยว่า เป็นโรคกรดไหลย้อนและเป็นบ่อยขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา

อาการสำคัญ ที่พบบ่อยในโรคกรดไหลย้อน ได้แก่

ความรู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ กลางหน้าอก ซึ่งมักเกิดหลังกินอาหารเสร็จใหม่ๆ

ความรู้สึกเปรี้ยวหรือขมในปากและคอ

มีอาหารย้อนขึ้นมาในปากและคอ

จุกเสียด แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่

นอกจากอาการหลักเหล่านี้แล้ว โรคกรดไหลย้อน ยังก่อให้เกิดอาการที่คุณคาดไม่ถึงอีกมาก เช่น

อาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ

เสียงแหบเรื้อรัง เสียงเปลี่ยน

ไอเรื้อรังโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน

กลืนติดขัด เหมือนมีก้อนจุกในคอ

ฟันผุ มีกลิ่นปาก

โรคหืดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาตามปกติ

โรคกรดไหลย้อนยังอาจทำให้หลอดอาหารเกิดการอักเสบ เป็นแผลรุนแรงจนตีบ หรือเกิดเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ ซึ่งจะพบเพียงส่วนน้อยยของผู้ป่วยเท่านั้น

อาการสำคัญที่ต้องพบแพทย์

ถึงแม้ว่าโรคกรดไหลย้อนนส่วนใหญ่จะไม่มีอาการรุนแรง แต่ไม่ควรละเลยโดยไม่รักษาเพราะอาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นได้ทั้งนี้ หากพบแพทย์เพื่อรักษาแล้วยังมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ควรต้องปรึกษาแพทย์ทันที

อาเจียนบ่อย หรือมีเลือดปน

กลืนติดหรือกลืนลำบาก

อุจจาระมีสีเข้ม หรือมีเลือดปน

อ่อนเพลียมากกว่าปกติ ร่วมกับอาการซีด

น้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีสาเหตุ

กินยาครบตามแพทย์สั่งแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

รักษากรดไหลย้อน ได้อย่างไร

การใช้ยาเป็นวิธีการหนึ่งในการรักษาโรคกรดไหลย้อนในผู้ป่วยส่วนใหญ่อย่างได้ผลโดยใช้ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและหลีกเลี่ยงบางอย่างที่กล่าวมาข้างต้น

ยาที่ใชร้รักษาโรคกรดไหลย้อน สามารถแบ่งตามกลุ่มการออกฤทธิ์ได้ ดังนี้

1.ยาลดกรด (antacids)

ออกฤทธิ์ลดความเป็นกรดของน้ำย่อยยในกระเพาะอาหาร มีประสิทธิภาพไม่สูงมากนัก จึงใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยยหรือเป็นเพียงคร้ังคราว เช่น aluminium hydroxide เป็นต้น

2.ยากลุ่มกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร (prokinetics)

เพิ่มการบีบรัดเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร ทำให้อาหารเคลื่อนออกจากกระเพาะอาหารเร็วขึ้น เช่น เมโทโคลพราไมด์ , domperidone เป็นต้น

3. ยากลุ่ม H2 Receptor Antagonist

ออกฤทธิ์ลดความเป็นกรดของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร มีประสิทธิภาพไม่สูงนัก เช่น cimetidine , famotidine, ranitdine เป็นต้น อาจใช้เป็นยาเสริมก่อนนอน กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการช่วงกลางคืนหลังจากได้ยา กลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊ม(Proton Pump Inhibitors) แล้วอาการไม่ดีขึ้น

4.ยากลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊ม (Proton Pump Inhibitors, PPI)

ยับยั้ง กลไกขั้นสุดท้ายในการหลั่งกรด จึงสามารถลดการหลั่งกรดได้สมบูรณ์ ได้แก่ omeprazole, esomepraxole, แพนโตพาโซล, ราบีปราโซล เป็นต้น ในปัจจุบนั ยากลุ่มนี้ มีประสิทธิภาพสูงในการลดการหลั่งกรดและได้ผลเร็วกว่ากลุ่มอื่นๆ อาจต้องรับประทานยานี้ติดต่อกัน นาน 6-8 สัปดาห์ หรือนานกว่าขึ้นอยู่กับการวินิฉัยของแพทย์และเมื่ออาการดีขึ้นแพทย์อาจปรับลดขนาดยาลงทีละน้อยจนหยุดยาได้

การดูแลป้องกันและรักษาโรคกรดไหลย้อน

1.ควรเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน

ควบคุมพฤติกรรมการกินอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้อาการกรดไหลย้อนมากขึ้น

  • อาหารรสจัด รสเผ็ด รสเปรี้ยว เช่น มะนาว ส้ม มะเขือเทศ
  • ของทอด ของมัน อาหารที่มีไขมันสูง
  • ชา กาแฟ ช็อกโกแลต น้ำอัดลม แอลกอฮอล์
  • หอมใหญ่ สะระแหน่หรือเปเปอร์มินท์
  • งดเว้นการสูบบุหรี่

2. ทานอาหารมื้อเล็ก

การรับประทานอาหารอิ่มมากเกินไป อาจทำให้หูรูดของหลอดอาหารเปิดง่ายและทำให้เกิดการย้อนของกรดง่ายขึ้น ควรแบ่งการรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆ และรับประทานให้บ่อยขึ้น

3. ไม่ควรเข้านอนหรือเอนกาย หลังรับประทานอาหารทันที

หลังรับประทานอาหารควรรออย่างน้อย 3 ชั่วโมงจึงค่อยเอนตัวนอน เพื่อให้อาหารเคลื่อนตัวออกจากกระเพาะอาหารเสียก่อน

4. ยกศีรษะและลำตัวให้สูง

การนอนโดยเสริมด้านหัวเตียงให้ยกสูงประมาณ 6 นิ้ว จะช่วยป้องกันการไหลย้อนกลับของกรดในกระเพาะอาหารได้ โดยไม่ควรใช้วิธีหนุนหมอนหลายใบ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องเกร็งตัว ซึ่งจะทำให้แรงดันในช่องท้องสูงขึ้นและดันให้กรดขึ้นไปที่หลอดอาหารได้ง่าย

5. ลดแรงดันในช่องท้อง

ไม่ควรสวมเสื้อผ้าหรือเข็มขัดที่รัดบริเวณผนังหน้าท้องแน่นจนเกินไป หรือการก้มตัวไปด้านหน้า หรือภาวะน้ำหนักเกินจะเพิ่มแรงดันในช่องท้อง ทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้ ดังนั้นจึงควรควบคุมน้ำหนัก หรือลดน้ำหนักในกรณีที่มีน้ำหนักตัวเกินกว่ามาตรฐาน

6. งดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

สารนิโคตินในบุหรี่ เป็นตัวเพิ่มความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร และทำให้หูรูดอ่อนแอ ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้หูรูดเปิดออกได้ง่ายเช่นกัน ควรหลีกเลี่ยงหรือเลิกสิ่งเหล่านี้แล้วอาการจะดีขึ้น

7. การตั้งครรภ์

ผู้หญิงตั้งครรภ์มักเป็นโรคกรดไหลยอ้น เนื่องมาจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นขณะตั้ง ครรภ์ทำให้หูรูดหลอดอาหารอ่อนแอลงรวมทั้งมดลูกที่ขยายตัวจะเพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหาร

8. ผ่อนคลายความเครียด

ความเครียดที่มากเกินไปจะทำให้อาการแย่ลง ดังนั้น จึงควรหาเวลาพักผ่อนและออกกำลังกายให้สมดุลกับตารางตารางชีวิต ช่วยให้ผ่อนคลายได้สุขภาพที่ดี

ค่ารักษา

เพิ่มเติม
การรักษา ราคา(บาท)
อัตราค่ารักษาพยาบาล แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 1723
การรักษา
อัตราค่ารักษาพยาบาล แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร 1723

แพทย์ประจำศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เพิ่มเติม

หัตถการของศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม