chat

ศูนย์นอนกรน (นิทราวินิจฉัย)

“การนอนกรน” หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาในระหว่างการนอนหลับ หากแต่ผลกระทบโดยทางตรงไม่ได้เกิดขึ้นกับสุขภาพของคนนอนกรนเพียงคนเดียวเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบทางอ้อมไปยังคนรอบข้าง โดยเฉพาะคู่สมรสหรือสมาชิกในครอบครัว จากมลพิษทางเสียงที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางอารมณ์และคุณภาพการนอนหลับที่ดีได้ ยิ่งไปกว่านั้น การนอนกรนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ กรณีที่มีความรุนแรงจนถึงขั้นหยุดหายใจไปชั่วคราวหรือหยุดหายใจเป็นเวลานานขณะนอนหลับ ดังนั้น การรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนอนกรนย่อมทำให้เราสามารป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้ชำนาญการของ ศูนย์นอนกรน โรงพยาบาลยันฮี

นอนกรน

สังเกตการนอนกรน..ที่เรียกว่าผิดปกติ

Sleep Lab ตรวจการนอนหลับสำหรับคนนอนกรน

ทำไมถึงนอนกรน?

“นอนกรน” เกิดจากการหายใจผ่านทางเดินหายใจส่วนต้นที่มีขนาดแคบกว่าปกติ ทำให้อากาศเกิดการสั่นสะเทือนจึงมีเสียงเกิดขึ้นขณะหายใจ เหมือนเราเป่านกหวีดผ่านช่องที่แคบลงอากาศที่เป่าเข้าไปมีการบีบตัวและสั่นขึ้นภายในนกหวีด จึงเกิดมีเสียงดัง ซึ่งเสียงจะดังมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการหายใจที่แรงหรือเบา และทางเดินหายใจที่แคบมากหรือน้อย หากปล่อยให้อาการกรนเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเพิ่มระดับความรุนแรงก็อาจกลายเป็น “โรคนอนกรน” ได้

สาเหตุของการนอนกรน เกิดจากน้ำหนักตัวมากกว่าปกติจนไขมันสะสมบริเวณเนื้อเยื่อรอบช่องคอ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง หรือเกิดจากโครงสร้างกระดูกใบหน้าที่มีคางสั้นทำให้เกิดเสียงกรนได้เมื่อหายใจระหว่างการนอนหลับ รวมทั้งอายุที่มากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอรอบทางเดินหายใจหย่อนตกไปด้านหลังช่องคอ ทำให้เกิดการสั่นเวลาหายใจขณะนอนหลับจึงเกิดเสียงกรน

นอกจากนี้ คนที่มีพฤติกรรมดื่มสุราและสูบบุหรี่ยังมีอัตราเสี่ยงในการเกิดภาวะนอนกรนได้มากกว่า จึงพบอาการดังกล่าวในเพศชายได้มากกว่าเพศหญิง กับกรณีเฉพาะเช่นผู้ที่เป็นหวัดเรื้อรังมักมีอาการแน่นจมูกทำให้ช่องทางเดินหายใจแคบกว่าปกติจนนอนกรนได้ด้วย

อาการนอนกรนที่ผิดปกติและอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ สามารถตั้งข้อสังเกตได้จากเสียงกรนที่มักขาดหายไม่สม่ำเสมอเหมือนคนหายใจติดขัด บางคนต้องลุกขึ้นมากลางดึกเพื่อนั่งหายใจเหมือนคนกำลังขาดอากาศหายใจ มีอาการง่วงนอนมากกว่าปกติระหว่างทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันเนื่องจากนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอในเวลากลางคืน จึงตื่นมาแล้วรู้สึกปวดศีรษะในตอนเช้า แต่อาการที่มีความเสี่ยงเป็นอันตรายถึงชีวิต คือ อาการหยุดหายใจเป็นช่วงๆในระหว่างการนอนหลับ หรือหยุดหายใจเป็นเวลานาน

ทำไมต้องตรวจและรักษา “นอนกรน” ที่ยันฮี

“ศูนย์นอนกรน” โรงพยาบาลยันฮี เป็นศูนย์การแพทย์ที่ทันสมัยและครบวงจรด้านการวินิจฉัยและรักษาอาการผิดปกติที่เกิดจากการนอนหลับทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ปัญหานอนกรน” เพราะเราตระหนักดีว่าการนอนกรนอันตรายกว่าที่คิด เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยและรักษาเป็นรายบุคคลอย่างตรงจุด หากมองข้ามปัญหานี้ไปอาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จากภาวะหยุดหายใจจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจ หากไม่ได้รับการรักษาอาจก่อให้เกิดหลายโรคตามมา ได้แก่

โรคความดันโลหิตสูง

โรคสมองขาดออกซิเจน

โรคความดันในปอดสูง

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ศูนย์นอนกรนโรงพยาบาลยันฮี พร้อมให้บริการการตรวจรักษาอาการนอนกรนด้วยเทคโนโลยีทันสมัยและได้มาตรฐานระดับสากล ภายใต้การดูแลจากทีมแพทย์ผู้ชำนาญการและมีประสบการณ์สูง ซึ่งมีบริการตรวจวินิจฉัยการนอนกรนผิดปกติ การตรวจวินิจฉัยจะทำในห้องตรวจสุขภาพการนอนที่ได้มาตรฐาน โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญคอยเฝ้าสังเกตอาการอยู่ตลอดทุกขั้นตอน

การตรวจสภาพการนอนหลับ (Sleep Lab Test)

การตรวจสภาพการนอนหลับ (Sleep Lab Test) จะทำให้แพทย์ทราบถึงความผิดปกติของระบบต่าง ๆ ในร่างกายขณะนอนหลับ โดยมีทั้งหมด 5 รายการ ประกอบด้วย

  • ตรวจดูความเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะหลับ
  • ตรวจวัดลมหายใจที่ผ่านเข้าออกทางจมูกและปาก
  • ตรวจนับจำนวนครั้งของการหยุดหายใจหรือหายใจน้อยลง
  • ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจที่เปลี่ยนแปลงขณะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ
  • ตรวจวัดระดับออกซิเจนในกระแสเลือด เพื่อประเมินระดับความรุนแรงจนนำไปสู่การวางแผนและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน

ในการตรวจ Sleep Lab Test ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องนอนค้างคืนที่โรงพยาบาล 1 คืน แพทย์จะติดอุปกรณ์ตรวจวัดเอาไว้ขณะนอนหลับ ผู้เข้ารับการตรวจควรนอนหลับด้วยท่านอนปกติในชีวิตประจำวัน ในวันที่เข้ารับการตรวจควรหลีกเลี่ยงการดื่มชากาแฟและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือการออกกำลังกายอย่างหนัก เพื่อให้สามารถนอนหลับได้ตามปกติและได้ผลการตรวจวัดใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

การตรวจสภาพการนอนหลับแบบ Polysomnography (PSG)

การตรวจสภาพการนอนหลับแบบ Polysomnography (PSG) มีทั้งหมด 8 รายการย่อย เพิ่มเติมมาอีก 3 รายการจาก 5 รายการเดิมในการตรวจแบบ Sleep Lab Test ประกอบด้วย

  • ตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง เพื่อวัดระดับความลึกของการนอนหลับ
  • ตรวจวัดการทำงานของกล้ามเนื้อขณะหลับ
  • ตรวจวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อทรวงอกและกล้ามเนื้อหน้าท้อง

เพื่อประเมินระดับความรุนแรงจนนำไปสู่การวางแผนและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน

ในการตรวจ Polysomnography (PSG) ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องนอนค้างคืนที่โรงพยาบาล 1 คืน ในวันที่เข้ารับการตรวจควรงดการรับประทานยานอนหลับ, หลีกเลี่ยงการดื่มชากาแฟและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์, งดใช้ครีมนวดหรือน้ำมันจัดแต่งทรงผมเนื่องจากขณะทำการตรวจจะมีการติดขั้วโลหะ (Electrode) ที่ศีรษะเพื่อวัดคลื่นสมอง

การรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัดด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RF

การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้บริเวณโคนลิ้นหรือเพดานอ่อน (Radiofrequency at Base of Tongue + soft palate : RF BOT) โดยใช้เข็มชนิดพิเศษทิ่มเข้าไปในเนื้อเยื่อบริเวณเพดานอ่อน แล้วปล่อยคลื่นความถี่วิทยุผ่านทางหัวเข็มเข้าไปในเนื้อเยื่อเพื่อเปลี่ยนเป็นความร้อนและทำให้เนื้อเยื่อเพดานอ่อนเกิดเป็นพังผืดและหดตัว ทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้นและมีการสั่นสะเทือนขณะหายใจน้อยลง เป็นวิธีที่เหมาะกับผู้ที่นอนกรนเสียงดังและมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำเพราะใช้เพียงยาชาเฉพาะที่ โดยไม่ต้องดมยาสลบและไม่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่ผลลัพธ์ในการรักษาจะไม่ถาวรเพราะหากผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวหรืออายุเพิ่มขึ้นในอนาคต อาการนอนกรนก็อาจกลับมาเป็นได้อีกครั้ง ก่อนเข้ารับการรักษาควรหยุดยาจำพวกแอสไพรินหรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด

การรักษาอาการนอนกรนโดยใช้แสงเลเซอร์

การใช้เลเซอร์รักษาอาการนอนกรนใช้ระยะเวลาสั้นประมาณ 30 นาทีเท่านั้นโดยไม่ต้องฉีดยาชา โดยใช้เลเซอร์บริเวณเพดานอ่อน กระพุ้งแก้ม ลิ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจนให้เกิดการตึงตัวขึ้น เพื่อขยายทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น เมื่อทางเดินหายใจเข้าออกได้ดีขึ้น การอุดกั้นทางเดินหายใจย่อมลดลง ลมหายใจเข้าออกกระแทกบริเวณทางเดินหายใจช่วงนี้ลดลง ทำให้อาการนอนกรนทุเลาลง โดยไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล หลังทำเสร็จสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

การรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจแบบเครื่องเป่าอากาศ (CPAP)

“CPAP” (Continuous Positive Airway Pressure) คือ เครื่องช่วยหายใจประเภทหนึ่งซึ่งใช้หลักการอัดแรงดันอากาศแก่ผู้ใช้ในขณะหายใจเข้า เพื่อเปิดช่องทางเดินหายใจส่วนต้นให้กว้างขึ้น โดยเครื่องจะดูดอากาศจากภายนอกผ่านแผ่นกรองฝุ่นและผลิตแรงดันอากาศส่งออกมาผ่านทางท่อลม และผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย มีสายรัดที่ศีรษะของผู้ป่วย มีท่อต่อไปยังเครื่องสร้างความดันในทางเดินหายใจให้เป็นบวกตลอดเวลา เพื่อป้องกันการยุบตัวของทางเดินหายใจ ช่วยให้ระดับออกซิเจนในเลือดไม่ลดต่ำลง เหมาะกับผู้ที่มีอาการในระดับปานกลางและระดับรุนแรง

การรักษาด้วยอุปกรณ์ลดการสั่นสะเทือนเพดานอ่อน (Pillar)

รักษาด้วยการสอดแท่ง Pillar ขนาดเล็ก 3 แท่งเข้าในเพดานอ่อนเพื่อช่วยลดการสั่นสะเทือนเพดานอ่อนอันเป็นสาเหตุของการนอนกรน โดยแท่ง Pillar จะช่วยพยุงไม่ให้เพดานอ่อนในปากไปปิดทางเดินหายใจ เนื้อเยื่อรอบๆเพดานอ่อนจะตอบสนองต่อแท่ง Pillar เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงด้านโครงสร้างของเพดานอ่อนในปากมากขึ้น โดยวัสดุที่ใช้ทำแท่ง Pillar มีความปลอดภัย ไม่รู้สึกรำคาญหรือติดขัดเมื่อกลืนอาหารหรือระหว่างการสนทนา สามารถรับประทานอาหารและใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ได้รับการรับรองและผ่านการทดสอบความปลอดภัยจากองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยให้ผลลัพธ์การรักษาใกล้เคียงกับการผ่าตัด แต่มีอาการแทรกซ้อนน้อยกว่ามาก ส่งผลให้อาการนอนกรนลดลง

ราคาการรักษาอาการนอนกรนที่โรงพยาบาลยันฮี

นอนกรน รักษาแบบไม่ผ่าตัดด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RF

20,000 บาท

นอนกรน รักษาแบบผ่าตัดโดยใช้เลเซอร์ (พัก รพ. 1 คืน)

59,000 บาท

ตรวจบันทึกการนอนหลับ (พัก รพ. 1 คืน)

11,000 บาท

นอนกรน รักษาด้วยเทคนิค Pillar

37,500 บาท

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ “การรักษาอาการนอนกรน”

ถาม
ตอบ

การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RF จะหายจากอาการนอนกรนแบบถาวรหรือไม่?

ผลลัพธ์ในการรักษาจะไม่ถาวรเพราะหากผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวหรืออายุเพิ่มขึ้นในอนาคต อาการนอนกรนก็อาจกลับมาเป็นได้อีกครั้ง แต่ก็สามารถกลับมารักษาด้วยการทำ RF ได้อีก

ถาม
ตอบ

การรักษาด้วยการสอดแท่ง Pillar ขนาดเล็ก 3 แท่งเข้าในเพดานอ่อนจะมีผลกระทบอะไรต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือไม่?

ไม่รู้สึกรำคาญหรือติดขัดเมื่อกลืนอาหารหรือระหว่างการสนทนา สามารถรับประทานอาหารและใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เพราะได้รับการรับรองและผ่านการทดสอบความปลอดภัยจากองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา

ถาม
ตอบ

การรักษาด้วยการใช้แสงเลเซอร์จำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลหรือไม่?

นอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล 1 คืน

วันและเวลาทำการ

วัน เวลา หมายเหตุ
จันทร์-อาทิตย์ 08.00 น. - 17.00 น.