ภาวะ “อ้วน” คือ การที่มีไขมันสะสมตามร่างกายมากเกินกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลให้มีรูปร่างที่อวบอ้วน ไม่สมส่วน ไม่มีความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการเข้าสังคม การเลือกใส่เสื้อผ้า และแน่นอนว่าย่อมส่งผลเสียโดยตรงต่อร่างกายจนอาจนำไปสู่การเกิดโรคร้ายแรง อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคหัวใจขาดเลือด ไขมันในเลือดสูง ฯลฯ
ค่า BMI คือ ค่าดัชนีที่ใช้ชี้วัดความสมดุลของน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) และส่วนสูง (เซนติเมตร) ซึ่งนำมาใช้เป็นสูตรที่จะหาได้ว่าตอนนี้คุณมีรูปร่างที่สมส่วนหรือไม่
ค่าดัชนีมวลกาย BMI | อยู่ในเกณฑ์ | ภาวะเสี่ยงต่อโรค |
---|---|---|
น้อยกว่า 18.5 | น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ | มากกว่าคนปกติ |
18.5-22.9 | สมส่วน | เท่ากับคนปกติ |
23.0-24.9 | น้ำหนักเกิน | อันตรายระดับ 1 |
25.0-29.9 | โรคอ้วน | อันตรายระดับ 2 |
30 ขึ้นไป | โรคอ้วนรุนแรง | อันตรายระดับ 3 |
ปัญหา “ความอ้วน” นับเป็นสิ่งที่หลายท่านไม่อยากทนอีกต่อไป จนต้องหาวิธีลดน้ำหนักแบบผิดๆ เช่น การอดอาหาร การงดอาหารจำพวกแป้งและไขมันแบบหักดิบในทันที การทานแต่ผักและผลไม้ จริงอยู่ที่น้ำหนักลดลงได้แต่ก็เสี่ยงกับภาวะขาดสารอาหาร และส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง ซึ่งจะทำให้ยิ่งมีความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น จนส่งผลให้เกิดภาวะ “ยิ่งอด ยิ่งอ้วน” และมีภาวะ “โยโย่” กลับมาอ้วนได้อีก ดังนั้น การลดน้ำหนักอย่างถูกวิธีนอกจากจะมีการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างที่เราทราบกันดีแล้ว ยังมีการลดน้ำหนักด้วยวิธีทางการแพทย์ที่อยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ บวกกับเทคโนโลยีทางการแพทย์อันทันสมัย ได้มาตรฐาน และปลอดภัยอีกด้วย เรามาดูกันว่าการลดน้ำหนักทางการแพทย์นั้นมีวิธีใดบ้าง และเหมาะกับใคร
– ลดน้ำหนักด้วยการทานยา
– ยาฉีดควบคุมความหิว
– Accent Ultra, Indiba, Carboxy, Velashape, CoolSculpting, Cristal, โปรแกรม Fat Burn
– ดูดไขมันด้วย Vaser, ดูดไขมันและกระชับผิวหนัง J-Plasma, ดูดและตัดไขมัน เหมาะสำหรับผู้ที่มี BMI มากกว่า 30
– ลดน้ำหนักทั้งตัวด้วยการใส่บอลลูนกระเพาะอาหาร
การลดน้ำหนักโดยวิธีทางการแพทย์นั้น เป็นส่วนหนึ่งในตัวช่วยของการลดน้ำหนักและกระชับสัดส่วนเพียงเท่านั้น ทั้งนี้จำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตด้วย อย่างการควบคุมอาหาร (อาหารที่ควรงดคือ น้ำตาล และอาหารที่ควรลดคือ แป้งและไขมัน) รับประทานอาหารให้มีปริมาณแคลอรีที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน (ผู้ชายต้องการ 1,800-2,500 กิโลแคลอรี ผู้หญิงต้องการ 1,500-2,000 กิโลแคลอรี) และการออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน วันละ 45-60 นาที ซึ่งจะส่งเสริมประสิทธิภาพในการลดน้ำหนักอย่างยั่งยืน ไม่กลับมาโยโย่อีก รวมไปถึงผลพลอยได้จากการมีสุขภาพดีแบบองค์รวมอีกด้วย
ศัลยกรรมตกแต่งและความงามยอดนิยม