chat

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

ปัญหาทางด้านระบบทางเดินอาหารและตับ เกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ แต่ที่พบได้บ่อยสุดเกิดจาก การติดเชื้อ โดยอาจจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส ที่ปนเปื้อนมากับอาหารที่รับประทาน ทำให้เกิดอาการ เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ การเป็นมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร การทำงานของอวัยวะที่มากกว่า หรือน้อยกว่าปกติ เช่นภาวะท้องผูก ลำไส้แปรปรวน

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลยันฮี บริการให้คำปรึกษา ตรวจวินิจฉัย ดูแลและรักษา โรคระบบทางเดินอาหารและโรคตับโดยเป็นศูนย์เฉพาะทาง ภายใต้การดูแลจากทีมอายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ และวิสัญญีแพทย์ ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการรักษาเฉพาะทาง ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น นักรังสีวิทยา นักเคมีบำบัด เภสัชกร นักโภชนาการ รวมถึงมีเทคโนโลยีและอุปกรณ์ในการตรวจรักษาที่ทันสมัย และลดความเสี่ยงการเกิดภาวะของโรคแทรกซ้อน ช่วยให้ผู้เข้ารับบริการทุกรายห่างไกลจากโรคระบบทางเดินอาหารและโรคตับ

ระบบทางเดินอาหาร เป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในร่างกาย มีหน้าที่สำคัญในการย่อยอาหาร การดูดซึม และการขับถ่าย โดยระบบทางเดินอาหารจะเริ่มตั้งแต่ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ ถุงน้ำดี จนถึงทวารหนัก




ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลยันฮี มีนวัตกรรมการตรวจและรักษาดังนี้

  • เอกซ์เรย์ (X-ray)
  • อัลตราซาวนด์ (Ultlasound)
    เพื่อตรวจดูความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้อง
    • ช่องท้องส่วนบน ได้แก่ ตับ, ตับอ่อน, ม้าม, ถุงน้ำดี, ท่อน้ำดี, ไต และช่องท้องทั่วไป ตลอดจนเส้นเลือดต่างๆ
    • ช่องท้องส่วนล่าง ได้แก่ ไส้ติ่ง
    • ตรวจหาภาวะตับแข็ง ไขมันพอกตับ

  • ซีทีสแกน (CT-Scan)
  • การกลืนแป้ง Barium swallowing
    เพื่อตรวจดูความผิดปกติ เช่น แผล ติ่งเนื้อ ก้อนเนื้อ การอักเสบ ระบบการกลืนอาหาร ของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น
  • สวนแป้ง Barium Enema (BE)
    เพื่อตรวจดูความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ เช่น ติ่งเนื้อ ก้อนเนื้อ , มะเร็งลำไส้ ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายย้วย เป็นต้น

  • การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น (EGD: Esophagogasuloduodenoscopy หรือ Upper Endoscopy)
    เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร จนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น เช่น ติ่งเนื้อ เนื้องอก เส้นเลือดขอด การอักเสบโป่งพอง แผล การอุดตันของอวัยวะในทางเดินอาหาร ฯลฯ

  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colonoscopy) มี 2 ชนิด
    • การส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติ ตั้งแต่ทวารหนักถึงลำไส้ใหญ่ส่วน Sigmoid (Sigmoidoscope)
    • การส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติ ตั้งแต่ทวารหนักถึงลำไส้ใหญ่ทุกส่วน จนถึงส่วน Cecum (Colonoscope)

  • การตรวจทางเดินอาหารด้วยการกลืนแคปซูล (Capsule endoscopy)
    เพื่อตรวจดูความผิดปกติตั้งแต่ช่องปาก หลอดอาหาร จนถึงทวารหนัก โดยเฉพาะลำไส้เล็กทั้งหมดที่การส่องกล้องอื่นตรวจไม่ถึง

  • การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและท่อตับอ่อน (ERCP: Endoscopic reulograde cholangipancretography) เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคระบบท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน เช่น นิ่วในท่อทางเดินน้ำดี เนื้องอกของท่อทางเดินน้ำดีหรือตับอ่อน มะเร็งของท่อน้ำดีตับอ่อนอักเสบ ฯลฯ
  • การส่องกล้องใส่สายให้อาหารผ่านทางหน้าท้องเข้ากระเพาะอาหาร (PEG: Percutaneous endoscopic gasulostomy)
    เพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัดเปิดช่องท้อง
  • การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Gastric Balloon)
    เป็นการส่องกล้องใส่บอลลูนเข้าไปในกระเพาะอาหารเพื่อลดพื้นที่ในกระเพาะอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มตลอดเวลาและรับประทานอาหารลดลง โดยเฉลี่ยการใส่บอลลูน ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิต สามารถลดน้ำหนักได้ 24 กิโลกรัมขึ้นไป ภายในระยะเวลา 1 ปี

  • การตัดชิ้นเนื้อจากกระเพาะอาหาร แล้วนำไปตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธีที่เรียกว่า Urease test
  • การนำสารคัดหลั่งหรือชิ้นเนื้อจากกระเพาะอาหารไปเพาะเชื้อ
  • การให้ผู้ป่วยดื่มสารยูเรียที่มีสารกัมมันตภาพรังสี แล้วตรวจผลทางลมหายใจออกของผู้ป่วย ซึ่งเรียกการตรวจนี้ว่า Urea breath test
  • การตรวจหาสารสำคัญในเลือด
  • การตรวจหาส่วนประกอบของเชื้อจากอุจจาระ (Stool antigen test)

  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
  • การเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับ (LFT)
  • การตรวจค่ามะเร็งลำไส้, มะเร็งตับ, มะเร็งตับอ่อน
  • การตรวจหาไวรัสตับอักเสบเอ, บี, ซี และอี
  • การตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัส
  • การดูดและเจาะตรวจชิ้นเนื้อในตับ
  • การตรวจเลือดในอุจจาระ

  • เป็นการทดสอบการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ซึ่งการทดสอบด้วย Sitzmarks สามารถช่วยให้แพทย์วินิจฉัยภาวะความเฉื่อยของการเคลื่อนไหวของลำไส้และการอุดกั้นหรือการไม่คลายตัวของหูรูดระบบทางเดินอาหารส่วนปลาย
  • ใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง เพื่อเป็นการศึกษาการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ โดยใช้ Radio Paque Marker ขนาดเล็กจำนวน 24 ชิ้น ที่บรรจุอยู่ใน Sitzmarks Capsule เพื่อประเมินการทำงานของระบบลำไส้ว่ามีลักษณะการเคลื่อนไหวเป็นอย่างไร

ขั้นตอนการตรวจด้วย Sitzmarks Capsule

โรคระบบทางเดินอาหารเป็นโรคที่ค่อนข้างซับซ้อนรวมถึงโรคบางชนิดมีอาการแทรกซ้อนอยู่มากมาย จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ละเอียดแม่นยำ และอยู่ในการดูแลของเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญและผ่านการฝึกฝนเป็นอย่างดี พร้อมเอาใจใส่ในการให้บริการ เพื่อความปลอดภัยในการรักษาโรคและลดความเสี่ยงของโรคร้ายที่จะตามมาเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยืนยาว

วันและเวลาทำการ

วัน เวลา หมายเหตุ
จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 น. - 16.00 น.

แพทย์ประจำศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เพิ่มเติม

หัตถการของศูนย์ทางเดินอาหารและตับ