chat

ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ

ศูนย์กระดูกและข้อ

ศูนย์กระดูกและข้อ

ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลยันฮี เป็นศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง บริการให้คำปรึกษา ตรวจวินิจฉัยและรักษา ดูแลทุกปัญหาเกี่ยวกับกระดูก ข้อ เอ็น กล้ามเนื้อ และเส้นประสาท อย่างครบวงจร รวดเร็ว ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ ภายใต้การดูแลจากทีมศัลยแพทย์ อายุรแพทย์ วิสัญญีแพทย์ ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น นักรังสีวิทยา นักเคมีบำบัด เภสัชกร นักโภชนาการ และเจ้าหน้าที่ ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูง ตระหนักถึงความสำคัญในคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการตลอดการรักษา ด้วยความใกล้ชิดและเป็นกันเอง พร้อมเทคโนโลยีและอุปกรณ์ในการตรวจที่ทันสมัย ให้การรักษาด้วยทางเลือก โดยการรักษาแบบผ่าตัดและการรักษาแบบไม่ผ่าตัด ทั้งการผ่าตัดแบบแผลเปิดกว้าง และการผ่าตัดผ่านกล้อง ตามความเหมาะสมเฉพาะราย ด้วยระบบการดูแลที่ครอบคลุม ถึงขั้นตอนการฟื้นฟูสภาพหลังการผ่าตัด ด้วยมาตรฐานความปลอดภัย ระดับสากล และความพึงพอใจสูงสุดของผู้รับบริการ

โรคกระดูกและข้อ ที่พบบ่อย ได้แก่

  • อุบัติเหตุ กระดูกหัก ข้อเคลื่อนหลุด ข้อแพลง บาดเจ็บกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเส้นประสาท
  • ข้อเสื่อม เช่นข้อเข่า ข้อสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกคอ
  • โรคทางกระดูกสันหลัง ได้แก่ หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเสื่อมทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเคลื่อน คด ค่อม หัก เป็นต้น
  • บาดเจ็บจากกีฬา การบาดเจ็บในนักกีฬาที่พบบ่อย ได้แก่ เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด หมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกเป็นต้น
  • โรคทางมือ ได้แก่ โรคนิ้วล็อค(Trigger finger ) ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เอ็นอักเสบ โรคปลอกหุ้มมืออักเสบ(เดอ เกอร์แวง) การกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ(Carpal tunnel Syndrome:CTS) เป็นต้น
  • โรคทางเท้าและข้อเท้า ได้แก่ เท้าปุก เท้าแบน นิ้วหัวแม่เท้าเกผิดรูป รองช้ำ เอ็นอักเสบ เป็นต้น
  • เนื้องอกกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน (เช่น กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นประสาท) ทั้งเนื้องอกธรรมดา เนื้อร้าย (มะเร็ง) และเนื้องอกลุกลาม
  • โรคทางเมตาบอลิกของกระดูก ได้แก่ โรคกระดูกบาง โรคกระดูกพรุน เป็นต้น
  • โรคออฟฟิศซินโดรม ปวดคอ/หลัง/เอว/ขา
  • กระดูกและข้ออวัยวะต่างๆ เกิดการคดงอ เช่น แขนโก่ง ขาโก่ง

การตรวจวินิจฉัยและเครื่องมือทางการแพทย์

ให้บริการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทาง ทำการซักประวัติอาการเจ็บป่วยและตรวจร่างกายในบางกรณีจำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติมด้วยเครื่องมือพิเศษได้แก่

  • เอกซ์เรย์ระบบดิจิตอล (Computed Radiography: CR)
  • เอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ ( Computerized Tomography Scan: CT Scan)
  • การตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อและเส้นประสาท (Electrodiagnosis: EMG, NCV)
  • การตรวจภายในข้อโดยการส่องกล้อง (Arthroscopic examination)
  • การตรวจร่างกายร่วมกับการใช้เครื่องเอกซ์เรย์ (Examination under fluoroscopy)
  • การฉีดสีเพื่อตรวจระบบไขสันหลัง (Myelogram)
  • การตรวจมวลกระดูก (Bone mineral density: BMD) เพื่อตรวจภาวะกระดูกพรุน
  • การตรวจเลือดเพื่อหาค่าการสลายกระดูก การสร้างกระดูก และระดับวิตามินดี

การรักษา
ให้บริการรักษาอย่างครบถ้วนและครบวงจรโดย

  • การให้คำแนะนำ การปฏิบัติตัว
  • การออกกำลังกาย การบริหาร
  • การทำกายภาพบำบัด
  • การใช้ยา
  • การใช้อุปกรณ์พยุงข้อ หลัง คอ

การทำหัตถการ

  • การฉีดยาแก้อักเสบ เช่นบริเวณรอบ ๆ เส้นเอ็น
  • การเจาะข้อ และการฉีดยาเข้าข้อ
  • การจัดกระดูก ดึงข้อให้เข้าที่
  • การใส่เฝือกดาม
  • การดัดไหล่ในโรคข้อไหล่ติด

การผ่าตัดรักษาโรคกระดูกและข้อ ที่พบบ่อย ได้แก่

  • การผ่าตัดขยายปลอกหุ้มเอ็น รักษาโรคนิ้วล็อค(Open Trigger finger release surgery)
  • การผ่าตัดเลาะพังผืด รักษาโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ(Open Carpal tunnel Release: CTR)
  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม(Total Knee Replacement:TKR)
  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม(Total Hip Replacement: THR)
  • การผ่าตัดจัดกระดูกเข้าที่และดามด้วยโลหะ
  • การผ่าตัดซ่อมแซมเส้นเอ็น(Repair Tendon )เส้นประสาท(Repair Nerve) เส้นเลือด(Repair Vascular)
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลัง(Discectomy)
  • การผ่าตัดขยายช่องไขสันหลัง(Laminectomy)
  • การผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลัง(Spondylodesis)
  • การผ่าตัดแก้ไขภาวะกระดูกสันหลังคด โก่ง งอ (Scoliosis)
  • การผ่าตัดผ่านกล้อง ได้แก่ การผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าเข่าขาด (Anterior Cruciate Ligament – ACL)
  • การผ่าตัดโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ การผ่าตัดต่อเส้นประสาท เส้นเลือด
  • การผ่าตัดขยายช่องเส้นเอ็น เส้นประสาท
  • การผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ(Ganglion cyst)
  • การผ่าตัดปรับมุมกระดูก
  • การผ่าตัดแก้ไขความพิการทางกระดูกและข้อที่เป็นมาแต่กำเนิด เช่น นิ้วมือผิดรูปแขน เท้าผิดปกติ ผิดรูป เท้าปุก เท้าแป แขนโก่ง ขาโก่งเป็นต้น
  • การผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง(Arthroscopic Surgery)
  • การผ่าตัด ตัดต่อนิ้ว มือ แขน ตัดต่อเส้นเอ็นเส้นประสาท
  • การผ่าตัดเนื้องอกกระดูก,ผ่าตัดมะเร็งกระดูก
  • การผ่าตัดกระดูกข้อมือหัก และผิดรูป(Carpal bone fracture)

โรคกระดูกและข้อเป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน หากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา จะทำให้กระทบต่อการทำกิจวัตรและใช้ชีวิตประจำวันของเรา บางโรคอาจสร้างความทุกข์ทรมาน แต่บางโรคหากไม่ดูแลรักษาและฟื้นฟู อาจทำให้กระดูกและอวัยวะบนร่างกายของเราผิดรูป จนไม่สามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติ หรือหากร้ายแรงถึงขั้นเป็นโรคร้าย อาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต หากเราปรารถนาจะมีชีวิตที่ยืนยาวหันกลับมาใส่ใจดูแลสุขภาพกระดูกและข้อของเราสักนิด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี แข็งแรง และยืนยาวนะคะ

วันและเวลาทำการ

วัน เวลา หมายเหตุ
จันทร์ - อาทิตย์ 07.00 น. - 20.00 น. เวลา 17.00 น. - 20.00 น. ให้บริการตรวจที่แผนกอายุรกรรม